การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ กลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม
โอกามา จ่าแกะ
วิยุดา ทิพย์วิเศษ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรและเพื่อศึกษาการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือสมาชิกกลุ่มทอผ้า จำนวน 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ มีกระบวนการเชื่อมต่อกับประสบการณ์ของตนเองทำให้เกิดภูมิปัญญาทำให้สิ่งนั้นเกิดการจัดการด้วยสติปัญญาที่ดีขึ้นกลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล มีความเชื่อ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นแบบอีสาน วิถีการทอผ้านั้นเป็นการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ในงานพิธีกรรม ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ห้ามทอผ้าในวันที่มีงานเผาศพ โดยมีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนในชุมชน คือ ลายพญานาคหรืองูที่แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย และการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ มีการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงวิถีชีวิตและความเป็นมาของชุมชน  อันจะสร้างความรู้และความภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2566).สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2566. จากhttps://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/72/cid/984/iid/12354.

กิตติพนธ์ ปัทมะสนธิ. (2563). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาลงแขกทำขนมจีนของชาวมอญ บ้านพะเนียงแตกตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2563.

นภาลัย บุญทิม. (2565). ต้นทุนและผลตอบแทนผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยนี้นำเสนอต้นทุนและผลตอบแทนผ้าทอพื้นเมืองใน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 11(1). หน้า 1-17.

นำพล แปนเมือง และคณะ. (2566). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านกรณีศึกษา: ตำบลโป่งเปือย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 12(1).

เนื้อทอง ระดาสาร และธนาพร วิลัยศิลป์. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการจากการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 25(2). หน้า 143-155.

ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล. (2566). องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาหารพื้นถิ่นมอญ ลุ่มน้าแม่กลอง จังหวัดราชบุรี.มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารศิลปศาสตร์. 23(1).

ศศิวรรณ ดำรงศิริ. (2539). ศิลปบนผ้าไหมมัดหมี่. กรุงเทพฯ :มูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย.

สาคร ฉลวยศรี. (2566). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกของชาวบ้านอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3).

Department of Cultural Promotion. (2015). Handbook for proposals to register national cultural heritage. Bangkok: Author.

Fuller, G. W. (1994). New product development from concept to marketplace. Boca Raton, FL: CRC Press.

Lenzerini, F. (2011). Intangible cultural heritage: The living culture of peoples. European Journal International Law, 22(1), 101–120. doi: 10.1093/ejil/chr006.

Na Thalang, E. (2002). Over all Thai local wisdom. Bangkok, Thailand: Amarin Printing and Publishing. [in Thai]

Niwes, A., & Kanchanosotha, J. (2007). Local wisdom. Bangkok, Thailand: Jitrwat Publishing. [in Thai]

UNESCO. (2021). International Year of Creative Economy for Sustainable Development. [Online], Available: https://en.unesco.org/news/international-year-creative-economy-sustainable-development