Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • ต้นฉบับที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุมหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน
  • ต้นฉบับที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • ต้นฉบับสำหรับส่งตีพิมพ์ได้จัดพิมพ์ตามคำแนะนำผู้เขียนที่ระบุไว้ใน Author Guidelines

วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา (Research Methodology & Cognitive Science: RMCS) เป็นวารสารราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาการปัญญา (Cognitive Science) จิตวิทยา การเรียนรู้ การศึกษา สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งเป็นสื่อกลางแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการเสนอผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษา

ผลงานวิชาการที่สามารถตีพิมพ์ลงวารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญาได้ ประกอบด้วย บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ ต้นฉบับที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุมวิชาการหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 คน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการวารสาร

1. การเตรียมต้นฉบับ

     1.1 การพิมพ์ 

           1) จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word หรือ Libre office 

           2) กำหนดกระดาษขนาด 18.0 ซม. x 25.5 ซม.

           3) เว้นระยะขอบกระดาษด้านบน 2.5 ซม. ด้านล่าง 1.4 ซม. ด้านซ้ายและขวาด้านละ 1.5 ซม.

           4) จัดรูปแบบเนื้อหาเป็น 1 คอลัมน์

           5) ความยาวต้นฉบับบทความวิชาการ ประมาณ 5-10 หน้า บทความวิจัย ประมาณ 7-17 หน้า และบทความปริทัศน์ ประมาณ 5-17 หน้า


     1.2 ตัวอักษร            

1.2.1 บทความภาษาไทย บทคัดย่อภาษาไทย และข้อความภาษาอังกฤษที่อยู่ในส่วนของเนื้อหา ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK หรือ TH Sarabun New โดยกำหนดขนาดตัวอักษร ดังนี้

1) ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 18 point แบบหนา
2) บทคัดย่อใช้ตัวอักษรขนาด 14.5 point แบบธรรมดา
3) หัวข้อใช้ตัวอักษรขนาด 16 point แบบหนา
4) เนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 14.5 point แบบธรรมดา
5) บรรณานุกรม/อ้างอิงใช้ตัวอักษรขนาด 14.5 point แบบธรรมดา

1.2.2 บทความภาษาอังกฤษ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Times New Roman โดยกำหนดขนาดตัวอักษร ดังนี้

1) ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 12 point แบบหนา
2) บทคัดย่อใช้ตัวอักษรขนาด 11 point แบบธรรมดา
3) หัวข้อใช้ตัวอักษรขนาด 11 point แบบหนา
4) เนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 11 point แบบธรรมดา
5) บรรณานุกรม/อ้างอิงใช้ตัวอักษรขนาด 11 point แบบธรรมดา

1.3 การเว้นวรรค
           1.3.1 การเว้นวรรคแต่ละครั้ง ให้เคาะแป้นเว้นวรรค (Space bar) เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
           1.3.2 การวรรคที่ระยะห่างกว่าปกติ ให้ใช้การตั้งระยะวรรคด้วยขนาดแท็บ (Tab) อย่าใช้วิธีเคาะ Space bar หลายครั้ง
           1.3.3 การพิมพ์ข้อความภาษาไทยสลับกับภาษาอังกฤษ และตัวอักษรภาษาไทยกับตัวเลข อย่าพิมพ์ติดกัน ให้เคาะแป้นเว้นวรรค 1 ครั้งเสมอ

1.4 รูปแบบการอ้างอิง

     หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงกำหนดให้ผู้เขียนใช้แบบ APA citation style (American Psychological Association Citation Style) โดยผู้เขียนต้องเขียนเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเนื้อหาเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษให้เขียนเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ แล้ววงเล็บด้านหลังว่าเนื้อหาเป็นภาษาใด เช่น 

Wongupparaj, P., & Wongupparaj, R. (2013). 39 Years of working memory model: research and its applications. Research Methodology & Cognitive Science, 10(2), 1-16. (In Thai)

     1)    รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

      กรณีที่มีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (citations in text) เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูล กำหนดให้ผู้เขียนบทความเขียนการอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year or author-date style) และมีการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดไว้ตอนท้ายเอกสาร เรียกว่า เอกสารอ้างอิง (references)

     2)    รูปแบบการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง เป็นการอ้างอิงส่วนท้ายบทความ ผู้เขียนบทความจะต้องรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้อ้างอิงในผลงานของตน เอกสารอ้างอิงเป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่อง จึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ได้อ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง

1.5   ตัวอย่างการอ้างอิง         

   1) การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ ตัวอย่างแสดงดังตาราง

การอ้างอิงในวงเล็บ

จำนวนผู้แต่ง

การอ้างอิงในวงเล็บครั้งที่ 1

การอ้างอิงในวงเล็บครั้งต่อไป

1 คน

(Jones, 2015)

(Jones, 2015)

2 คน

(Smith & Jones, 2015)

(Smith & Jones, 2015)

3-5 คน

(Jones, Smith, & Brown, 2015)

(Jones et al., 2015)

≥ 6 คน

(Jones et al., 2015)

(Jones et al., 2015)

การอ้างอิงในเนื้อหา

จำนวนผู้แต่ง

การอ้างอิงในเนื้อหาครั้งที่ 1

การอ้างอิงในเนื้อหาครั้งต่อไป

1 คน

Jones (2015)

Jones (2015)

2 คน

Smith and Jones (2015)

Smith and Jones (2015)

3-5 คน

Jones, Smith, and Brown (2015)

Jones et al. (2015)

≥ 6 คน

Jones et al. (2015)

Jones et al. (2015)

   2) การเขียนรายการเอกสารอ้างอิง

        เครื่องหมาย / หมายถึงเว้นระยะ 1 ตัวอักษร หากเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมายตามตัวอย่าง สำหรับชื่อหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องและชื่อเรื่องย่อย ยกเว้นกรณีชื่อเฉพาะ

1) หนังสือ ผู้แต่ง 1 คน

รูปแบบ

Author, A. A. (year). Title of work. Location: Publisher.

ตัวอย่าง

Gravetter, F. J., & Forzano, L. B. (2016). Research Methods for the Behavioral Sciences (5th ed.). New York: Cengage Learning.

2) บทความวารสาร

รูปแบบ

Author, A. A., Author, B. B., & Author, C. C. (year). Title of article. Title of Periodical, xx, pp—pp. doi:xx.xxxxxxxxxx

ตัวอย่าง

Goeke, C., Kornpetpanee, S., Köster, M., Fernández-Revelles, A. B., Gramann, K., & König, P. (2015). Cultural background shapes spatial reference frame proclivity. Scientific Reports, 5, 1-13. doi: 10.1038/srep11426

3) สื่อวีดีทัศน์จาก YouTube หรือจากเว็บไซต์ต่างๆ

รูปแบบ

Author, A. A. (Year, Month Day). Title of post [Description of form]. Retrieved from http ://www.xxxx

ตัวอย่าง

Norton, A. (2015, February 13). RMCS Burapha [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=o3OT_swgPMM

หมายเหตุ การอ้างอิงรูปแบบอื่นๆ กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจาก

American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed.). Washington, DC: American Psychological Association.

 

2. การส่งบทความ 

        ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญาในรูปแบบออนไลน์ในระบบ ThaiJO ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/RMCS

3. การพิจารณาบทความ

      กองบรรณาธิการตรวจสอบเบื้องต้นและผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาพิจารณากลั่นกรองบทความอย่างละเอียด (double-blind peer review) การพิจารณาบทความใช้เวลาประมาณ 60 วัน นับตั้งแต่เริ่มส่งบทความจนกระทั่งตอบรับการตีพิมพ์ (Accepted)

 4. ค่าใช้จ่าย

1) ในขณะนี้ผู้ส่งบทความยังไม่ต้องชำระเงิน ในอนาคตถ้าต้องมีการชำระเงินจะแจ้งให้ทราบต่อไป

2) กรณีสมัครเป็นสมาชิกของวารสาร ชำระค่าสมาชิกวารสาร 1 ปี เป็นเงินจำนวน 200 บาท (ได้รับวารสาร 2 ฉบับ)

5. การติดต่อสอบถาม

          ติดต่อสอบถามได้ที่ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา เทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131 โทรศัพท์: 0-3874-5792, 0-3810-2077 โทรสาร: 0-3839-3484 เว็บไซต์: https://rmcs.buu.ac.th