อิทธิพลของการกํากับตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในราชอาณาจักรกัมพูชา

Main Article Content

Poliny Ung
สุชาดา กรเพชรปาณี
พูลพงศ สุขสวาง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกํากับตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนเองทาง คณิตศาสตร์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในราชอาณาจักรกัมพูชา และตรวจสอบ ความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เกรด 10-12 ปีการศึกษา 2011-2012 ที่กําลังศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ราชอาณาจักรกัมพูชา จํานวน 442 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80

ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกํากับตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ ที่มีต่อความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสมมตฐานมีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติไค-สแควร์เท่ากับ 22.66 ค่าความน่าจะเป็นทางสถิติ (p) เท่ากับ .42 ค่า df เท่ากับ 22 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 ค่า SRMR เท่ากับ 0.02 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 ค่า NFI เท่ากับ 1.00 ค่า NNFI เท่ากับ 1.00 แสดงว่า การรับรู้ ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ มีอีทธิพลทางตรงเชิงลบต่อความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์ และการกำกับตนเองโดยวิธีการ คิดอภิมาน วิธีการทางปัญญา และวิธีการกํากับความพยายามมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์และส่ง ผ่านตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์โดยมีอิทธิพลเชิงบวกกับตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ และเชิงลบกับตัวแปรความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์

 

Influence of Self-Regulation and Perceived Self-Effi cacy in Mathematics on Anxiety of Upper Secondary School Students in Kingdom of Cambodia

Poliny Ung1, Suchada Kornpetpanee2 and Poonpong Suksawang2

1Meanchey University, Kingdom of Cambodia

2Centre for Advanced Statistical Analysis College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University, Thailand

This study developed a causal relationship model of self-regulation and perceived self-effi cacy in mathematics on anxiety of upper secondary school students in Kingdom of Cambodia, and tested the validity of the model with empirical data. Data were collected in Kingdom of Cambodia from 442 upper secondary students in the academic year 2011-2012. Students were randomly selected by multistage sampling. SPSS and LISREL 8.80 were used to analyze the data.

The causal model was found to be consistent with empirical data. Goodness of fi t statistics were: x2 =22.66, df = 22, p = .42, RMSEA = 0.01, SRMR = 0.02, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, NFI = 1.00, NNFI = 1.00. Perceived self-effi cacy in mathematics had a negative direct effect on anxiety. The negative effect of self-regulation by using metacognitive strategy, cognitive strategy, and effort regulation strategies on anxiety were indirect through perceived self-effi cacy in mathematics, while having a positive effect on perceived self-efficacy.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)