การพัฒนาการท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวอาข่า กรณีศึกษาหมู่บ้านอาข่าป่ากล้วย อําเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ภัทรพันธ์ เสริมสวัสดิ์ศรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง 2) ศึกษาผล ของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวอาข่า หมู่บ้านอาข่าป่ากล้วย อําเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในหมู่บ้านอาข่าป่ากล้วยให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ชาวอาข่าที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอาข่าป่ากล้วย จํานวน 15 คน ผู้นําทางความคิด จํานวน 5 คน และเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาดอยตุง จํานวน 3 คน เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เสนอผลการวิจัยโดยอาศัยหลักการวิเคราะห์เทียบเคียงกับแนวคิดและทฤษฎี ในรูปแบบของการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยปรากฏว่า การพัฒนาดอยตุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทําให้มีนักท่องเที่ยวจากทั้งในประเทศและ ต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อชมความงดงามทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของชาวเขาเป็นจํานวน มาก ซึ่งการท่องเที่ยวได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวอาข่า หมู่บ้านอาข่าป่ากล้วย ทั้งผลกระทบทางบวก และทางลบ ผลกระทบทางวัฒนธรรมด้านบวก ได้แก่ การท่องเที่ยวทําให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมการละเล่น และเครื่องดนตรีของชาวอาข่า มีการนําการละเล่นของชาวอาข่ามาแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม ด้านการเผยแพร่และ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ในหมู่บ้านเริ่มมีการให้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ มีการจัดกิจกรรมลานวัฒนธรรมให้นักท่องเที่ยวได้ เรียนรู้วิถีชีวิตและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมกับคนในหมู่บ้านอย่างใกล้ชิด สําหรับผลกระทบทางวัฒนธรรมด้านลบ ได้แก่ การท่องเที่ยวทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่านิยมด้านการแต่งกาย ชาวอาข่าในหมู่บ้านนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ ทันสมัยแบบคนพื้นราบ ด้านค่านิยมวัตถุและความทันสมัย ชาวอาข่าให้ความสนใจกับวัตถุสิ่งของและความสะดวกสบาย ระบบทุนนิยมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เงินกลายมาเป็นปัจจัยที่สําคัญในการดํารงชีวิต ค่านิยมด้านการบริโภค มีการบริโภค อาหารแบบดั้งเดิมผสมผสานกับการบริโภคอาหารสําเร็จรูป ด้านการลดคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรม มีการนํา ศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมของชนเผ่ามาดัดแปลงเป็นสินค้าให้ทันสมัยเพื่อจําหน่ายเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ด้านความ เชื่อในการนับถือศาสนา การเปลี่ยนการนับถือศาสนาเพื่อให้สอดคล้องกับการดําเนินวิถีชีวิต ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้าน ภาษา ชาวอาข่าสามารถพูดภาษาไทยได้มากขึ้น และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เฉพาะคําง่าย ๆ

 

Impact of Tourism Development on the Ethnic Akha’s Culture: A Case Study of Akha Pa Kluai Village

Phattaraphan Sermswatsri

Faculty of Social Sciences, Kasetsart University, Thailand

The purpose of this research was 1) to study tourism information in particular from the Doitung Development Project 2) to study the impact of tourism development on cultural changes in Akha Pa Kluai Village, Mae Fah Luang District, Chiang Rai Province and 3) to find ways to achieve sustainable tourism development. Interviews were the key method for data collection in this qualitative study.

Fifteen Akha Pa Kluai villagers, both men and women, five village leaders, and three staff of the Doitung Development Project were interviewed. Next to in-depth interviews, observations were made, both participatory and non-participatory observation. Regarding the results, this study presents a descriptive narrative based on comparable concepts and theories.

The results found that as a tourist attraction, Doitung has been confronted with both domestic and foreign tourists who come to admire the nature, the culture and traditions. Tourism had both a positive and a negative impact on the culture of Akha Pa Kluai Village. On the positive side, tourism had provided conservation and restoration of the cultural heritage. For instance, on special occasions tourists were shown traditional/cultural dances. The villagers also ran a "Homestay" business that arranged cultural events. This encouraged tourist to learn the villagers’ way of life and cultural knowledge closely. On the other hand, the negative impact of tourism resulted in changes of dressing style imitating urban style. Some villagers started to value materialism, modernization and convenience. Money has become an important factor in their life. Regarding food consumption, the villagers consume both traditional food and delicatessen. Art and Crafts have been adapted in order to sell traditional tribal souvenirs to tourists. With regard to faith and religion the villagers proselytise due to their changing ways of life. Finally, the Akhas speak more Thai are able to speak a little English.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)