ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : การวิเคราะห์เส้นทางแบบกลุ่มพหุ

Main Article Content

มนัสวี ธนะปัด
วิไลลักษณ์ ลังกา
อรอุมา เจริญสุข

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิด สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสาเหตุต่อความคิด สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กับกลุ่มโรงเรียนในจังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กําลัง
ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 519 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน กรุงเทพมหานคร จํานวน 265 คน และนักเรียนในจังหวัดน่าน จํานวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ ใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นทางแบบ
กลุ่มพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย ปรากฏว่า

1. โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความสอดคล้องกลมกลืน (χ2=15.71, df = 15.00, χ2/ df =1.05, p =.40, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.01, RMR = 0.02)

2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนของผู้ปกครอง บรรยากาศในห้องเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรม ส่งอิทธิพลทางตรงต่อความคิดสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการสนับสนุนของผู้ปกครอง และพฤติกรรมการสอนของครู ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อความคิดสร้างสรรค์ ผ่าน ารเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และบรรยากาศในห้องเรียน ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการพฤติกรรมการสอนของครู และการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุทั้งหมดร่วมกันอธิบายความคิดสร้างสรรค์ได้ ร้อยละ 47

3. รูปแบบของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์มีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดน่าน

 

Factors Influencing the Creativity of Grade Nine Students: 
A Multiple Group Path Analysis 

Manuswee Thanapud, Wilailak Langka and Orn-uma Charoensuk

Srinakharinwirot University, Thailand

The purposes of this research were 1) to validate the model of factors influencing the creativity of  grade nine students with empirical data, 2) to study the effects of factors influencing the creativity of grade  nine students, and 3) to study the invariance of the proposed model between two groups of school under the
secondary education service area in Bangkok and Nan Province. The sample of 519 grade 9 students, in the  second semester of the academic year 2013, comprised 265 students from Bangkok and 254 students from
Nan Province. The instruments used in this research were a creative thinking and a questionnaire on factors
influence creativity. The data were analyzed using Multiple Group Path Analysis.

The results were;

1. The causal model of factors influencing creativity had a good fit with the empirical data. (χ2=15.71, df = 15.00, χ2/df =1.05, p = .40, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.01, RMR = 0.02)

2. Achievement motivation, democratic parenting, family member relationships, support of parents,
classroom environment, and participation in activities had direct effects on creativity (p<.05). Support of
parents and teaching behavior of teachers had indirect effects on creativity through participation in activities
(p<.05). The classroom environment had indirect effects on creativity through teaching behavior of teachers
and participation in activities (p<.05). All factors together accounted for 47 percent of the total variance in
creativity.

3. The causal model of factors influencing creativity was invariance between the two groups of
school in Bangkok and Nan Province.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)