โมเดลเชิงสาเหตุของการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ในนครหลวงเวียงจันทน์

Main Article Content

Khampheuy Phyphakhavong
สุชาดา กรเพชรปาณี
วรรณ์ทนา ภาณุพินทุ

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปี ที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 400 คน ผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ครูสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 11 คน และเพื่อนสนิทที่เรียนร่วมห้องเรียนเดียวกันกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาประจำนครหลวงเวียงจันทน์ ปี การศึกษา 2549-2550 โมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน การรับรู้ของครู การรับรู้ของผู้ปกครอง และการรับรู้ของเพื่อนเกี่ยวกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน เพศของนักเรียน และผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่ผ่านมาของนักเรียนผลการวิจัย ปรากฏว่า โมเดลที่ปรับแก้แล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่า ค-สแควร์ เท่ากับ .94 ที่องศาอิสระเท่ากับ 9 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ( GFI ) เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว ( AGFI ) เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ ( CFI ) เท่ากับ 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน ( SRMR ) และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความ คลาดเคลื่อนโดยประมาณ ( RMSEA ) มีค่าเท่ากับ 0.00 เช่นเดียวกัน ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ร้อยละ 70 การรับรู้ของครู การรับรู้ของผู้ปกครอง และการรับรู้ของเพื่อน มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแสดงว่า ถ้าครู ผู้ปกครอง และ เพื่อนรับรู้ว่านักเรียนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ในระดับสูง จะทำให้นักเรียนรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงด้วย การรับรู้ของครูมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยผ่านการรับรู้ของผู้ปกครองและเพื่อน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่ผ่านมา มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการ
รับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยผ่านการรับรู้ของครู ผู้ปกครอง และเพื่อน ส่วนเพศของนักเรียนไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน

A Casual Model of Self-Efficacy Perception on Mathematics for Grade 8 Students at Vientiane

          A causal relationship model of self-efficacy perception of mathematics was developed and validated for Grade 8 students. The sample consisted of 400 students and their parents, 11 mathematics teachers, and 400 peers in schools under the jurisdiction of the Education Department of Vientiane, during the 2006-2007 academic years. The model comprised six latent variables: the mathematics self-efficacy perception of students, teacher perception of student mathematics efficacy, parent perception of student mathematics efficacy, peer perception of student mathematics efficacy, gender, and previous mathematics performance.
           The adjusted model was found to be consistent with empirical data. Goodness of fit indicators included a chi-square value of .94 with 9 degrees of freedom, p=1.00; goodness of fit index 1.00; adjusted goodness of fit 1.00; comparative fit index 1.00; standardized root mean square residual, and root mean square error of approximation, both 0.00. The variables in the model were found to account for 70% of the variance in the mathematics self-efficacy perception of students. The influence of teacher perception, parental perception, and peer perception were all statistically significant, indicating that students tended to perceive themselves to be at a high level on mathematics if their teachers, parents and peers perceived them to be at that level. It was also found that teacher perceptions indirectly affected student mathematics self-efficacy perceptions through parent and peer perceptions, and previous mathematics performance indirectly affected student mathematics self-efficacy perceptions through teacher, parent and peer perceptions; results were similar for both genders.


Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)