การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยว ชมหิ่งห้อยคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

สุชาดา กรเพชรปาณี
พูลพงศ์ สุขสว่าง
วัลย์ลดา วรกานตศิริ
สุภลักษณ์ สีใส
ธัชทฤต เทียมธรรม

Abstract

         การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบจากธุรกิจการ
ท่องเที่ยวล่องเรือชมหิ่งห้อยที่มีต่อชุมชนที่ตั้งอยู่ในเส้นทางหลักของการล่องเรือชมหิ่งห้อยบริเวณริมคลอง
อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ผู้ให้
ข้อมูลหลักประกอบด้วย ชาวบ้าน ผู้รู้เกี่ยวกับบริบทชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์การปกครองส่วน
ท้องถิ่น ผู้บริหารและครูในโรงเรียน และผู้ให้บริการล่องเรือชมหิ่งห้อย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต
แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ และการสนทนา
กลุ่ม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นกระบวนการมีส่วนร่ วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการ
ท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยซึ่งเป็นไปตามวงจรการมีส่วนร่วมของโคเฮนและอัปฮอฟฟ์ (Cohen & Uphoff, 1980)
โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการมีส่วนร่วมตัดสินใจ การมีส่วนร่วมดำเนินงานหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
การทำให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การมี
ส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาผลกระทบจากธุรกิจการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยมีประสิทธิผล

Community Participation in Managing the Impact of Firefly Tourism in
KHLONG AMPHAWA, SAMUT SONGKHRAM Province

         Qualitative methods were used to study conflicts stemming from increased firefly tourism in communities bordering the Khlong Amphawa, Samut Songkhram Province. It looked at community participant in managing the impact of firefly tourism. Participants included residents, community leaders, local government authorities, school administrators and teachers, and representatives of the tourist industry. Data were collected via participant and non- participation observation, in-depth interviews, group discussions and recorded informal conversations. Close coherence with Cohen and Uphoff’s (1980) concentric model of community participation in rural development was observed, with government and community leaders concluding that a variety of problem-solving techniques,
ongoing meetings, and sustained effort were critical factors contributing to effective community involvement in tourism management.


Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)