การประมาณค่าการระเหยน้ำโดยใช้ตัวประมาณค่าแบบอัตราส่วนที่ปรับใหม่

Main Article Content

ชนัญกาญจน์ แสงประสาน
เสรี ชัดแช้ม
พัชรี วงเษ์เกษม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวประมาณค่าแบบอัตราส่วนของค่าเฉลี่ยประชากรที่ปรับใหม่ กรณีใช้ตัวแปรช่วยสองตัวและตัวแปรที่ศึกษามีค่าผิดปกติ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวประมาณค่าแบบ อัตราส่วนที่ปรับใหม่กับตัวประมาณค่าแบบอัตราส่วน \inline \bar{Y}_{m(SD)} 

ของ Gupta and Shabbir (2007) ภายใต้12 สถานการณ์ ด้วยเกณฑ์ค่าความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ยและค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ ต่ำสุด และเพื่อประมาณค่าการระเหยน้ําโดยเฉลี่ยรายเดือนในจังหวัดสกลนคร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม 2556 ด้วยตัวประมาณค่าแบบอัตราส่วนที่ปรับใหม่ โดยใช้ข้อมูลการระเหยน้ำ อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยและความชื้น สัมพัทธ์ จากสถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนครจังหวัดสกลนคร กําหนดความแม่นยําของการประมาณค่าการระเหยน้ำ โดยเฉลี่ยรายเดือนในจังหวัดสกลนครด้วยค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ ไม่เกิน 10%

ผลการวิจัยปรากฏว่า

1. ตัวประมาณค่าแบบอัตราส่วนที่ปรับใหม่

.jpg_476

 

มีประสิทธิภาพมากกว่าตัวประมาณค่าแบบอัตราส่วน \inline \bar{Y}_{m(SD)} ของ Gupta and Shabbir (2007)

2. การประมาณค่าการระเหยน้ำโดยเฉลี่ยรายเดือนในจังหวัดสกลนคร โดยใช้ตัวประมาณค่าแบบ อัตราส่วนที่ปรับใหม่ ให้ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เท่ากับ 6.71

 

An Evaporation Estimation using the Modified Ratio Estimator

Chanankarn Saengprasan1, Seree Chadcham1 and Patcharee Wongkasem2

1College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University, Thailand

2Faculty of Science, Burapha University, Thailand

The objectives of this research were; 1) to modify the ratio population mean estimator that uses two auxiliary variables and the study variable having outliers, 2) to compare the efficiency of the modified ratio population mean estimator with Gupta and Shabbir’s (2007) estimator using the minimum Mean Square Error (MSE) and the Mean Percent Relative error (MPRE) as criterions under 12 simulations, and 3) to estimate the monthly average evaporation, from May to December 2013 in Sakon Nakhon province, using the modified ratio estimator. Monthly average climatic data, consisting of pan evaporation, air temperature, and relative humidity from Sakon Nakhon meteorological station, were used to estimate evaporation in each month. In this study, monthly evaporation estimation is considered to be acceptable if the mean percent relative error (MPRE) is less than 10 %.

The results were as follows:

1. The modified ratio estimator,

.jpg_476

was more efficient than Gupta and Shabbir’s (2007) estimator, \inline \bar{Y}_{m(SD)}

2. The modified ratio estimator was acceptable for the estimation of monthly average pan evaporations in Sakon Nakhon province since the mean percent relative error (MPRE) was 6.71 %.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)