การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรม

Main Article Content

สุพจน นาคสวัสดิ์
เสรี ชัดแช้ม
ภัทราวดี มากมี

Abstract

ทุนมนุษย หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะของบุคคล ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินทุน มนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรมแบบออนไลน์รวมทั้งการนําเกณฑ์การประเมินในรูปโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปใช้ เปรียบเทียบทุนมนุษย์ระหว่างองค์การขนาดใหญ่ กับองค์การขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรม การศึกษาแบ่งออกเป็น 3ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่1การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรม ด้วยเทคนิคเดลฟายประยุกต์แบบ EDFR จํานวน 3 รอบ กับผู้เชี่ยวชาญจํานวน 20 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรมแบบออนไลน์และขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบ ทุนมนุษย์ระหว่างองค์การขนาดใหญ่ กับองค์การขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นองค์การใน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรม จํานวน 12 แห่ง เป็นองค์การขนาดใหญ่ 6 แห่ง และ องค์การ ขนาดกลางและขนาดย่อม 6 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู (The Mann-Whitney U Test)

ผลการวิจัยปรากฏว่า

1. เกณฑ์การประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรม ประกอบดhวย 5 มิติ15 ตัวบ่งชี้85 เกณฑ์ การพิจารณา ดังนี้1) มิติบริบทพื้นฐาน จํานวน 3 ตัวบ่งชี้16 เกณฑ์การพิจารณา 2) มิติปัจจัยนําเข้า จํานวน 2 ตัวบ่งชี้11 เกณฑฺการพิจารณา 3) มิติกระบวนการ จํานวน 5 ตัวบ่งชี้30 เกณฑ์การพิจารณา 4) มิติผลลัพธ์ จํานวน 3 ตัวบ่งชี้16 เกณฑ์การพิจารณา และ 5) มิติมูลค่าเพิ่มขององค์การ จํานวน 2 ตัวบ่งชี้12 เกณฑ์การ พิจารณา โดยได้จําแนกระดับทุนมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ทุนมนุษย์ระดับต้องปรับปรุงอย่างยิ่ง (1 ดาว) ถึง ทุนมนุษย์ระดับดีเด่น (5 ดาว)

2. ผลการประเมินโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรมแบบออนไลน์มี ความเหมาะสมที่จะนําไปใช้งานได้ตามทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี

3. ผลการเปรียบเทียบทุนมนุษย์ระหว่างองค์การขนาดใหญ่ กับองค์การขนาดกลางและขนาดย่อมที่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมโดยใช้เกณฑ์การประเมินที่พัฒนาขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เกณฑ์การประเมินทุนมนุษย์สําหรับภาคอุตสาหกรรมมีคุณภาพดีและเชื่อถือได้

 

Development of the Human Capital Assessment Criteria for Industrial Sector

Supot Naksawat, Seree Chadcham and Pattrawadee Makmee

College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University, Thailand

Human capital has definite as knowledge, skill, ability and attribute of person. The purposes of this research were to develop the human capital assessment criteria for industrial sector, to develop online human capital assessment program, and to compare the human capital between large and small-to-medium sized firms awarded industry award. The study was divided into three phases: 1) the development of human capital assessment criteria for industrial sector using modified Delphi; three-round EDFR with interviewing 20 experts, 2) the development online human capital assessment program, and 3) the comparison of the human capital between six large sized firms and six small-to-medium sized firms are classified as creative industry and awarded industry award. The collected data were analyzed by Mann-Whitney U Test.

The major results showed that:

1. The human capital assessment criteria for industrial sector was composed of five dimensions divided into 15 indicators and 85 considered criteria: 1) context dimension (3 indicators & 16 considered criteria), 2) input dimension (2 indicators & 11 considered criteria), 3) process dimension (5 indicators & 30 considered criteria), 4) product dimension (3 indicators & 16 considered criteria), and 5) value-added dimension (2 indicators & 12 considered criteria). The human capital levels were categorized into five star-levels; 1 (Need strongly improvement) to 5 Star-level (Excellent level).

2. The developed online human capital assessment program was accepted based on Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT).

3. The results of the human capital comparison between large and small-to-medium sized firms awarded industry award were differences (p < .05). It indicated that the criteria was good quality and reliability.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)