ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร

Main Article Content

พรรษา เอกพรประสิทธิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการน ารูปแบบกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีไปใช้ แบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียว
วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ านวน 40 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล องค์ประกอบของการเรียนรู้จิตอาสา คือ หลักการเรียนรู้ผ่านฐานต่างๆ
ประกอบไปด้วย ความคิด จิตใจ การลงมือกระท า การช่วยเหลือ และความสุขใจ 2) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อ
ส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีของกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยของ
พฤติกรรมจิตอาสาก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยและเงื่อนไขการน ารูปแบบกิจกรรมไปใช้
ปัจจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัย คณาจารย์ และบุคลากร มีส่วนช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาความรู้ เจตคติ
และความสามารถด้านจิตอาสา การรณรงค์ ให้ความรู้และข่าวสาร มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการส่งเสริมจิตอาสา
ของนักศึกษา และการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านโครงการกิจกรรมจิตอาสาอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนเงื่อนไข
ได้แก่ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดโครงการจิตอาสา รวมถึงการประเมินและติดตามผล

 

Effects of activity model to encourage public mind among undergraduate students of King Mongkut’s University of Technology Thonburi

The purposes of this research were 1) to create and develop activity model to
encourage public mind of undergraduate students, 2) to study results of activity model to
encourage public mind of undergraduate students, and 3) to study related factors of activity
model to encourage public mind of undergraduate students. The research design was a pre-and-posttest design. The sample were 40 undergraduate students of King Mongkut’s University of
Technology Thonburi. The research findings were as follows: 1) The components of an activity
model to encourage public mind of the undergraduate students consisted of principle, objectives,
contents, learning activities, and assessment and evaluation. The public mind learning
components are comprised of Head, Heart, Hands, Help, and Happy. 2) The results showed that the
average public mind scores between pre-test and post-test were not significantly different. The
experimental group pre-test and post-test were not significantly different. 3) The factors and
conditions concerning the activity model were university, instructors, and facilitators. They
supported students to develop knowledge, idea, and public mind ability and also promoted
undergraduate students to be a part of public mind and exchanged their ideas via public mind
activity model. The conditions were a practical timeframe to set up each public mind model
including assessment and evaluation.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน

โรงเรียนสังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,

สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2540). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระไพศาล วิสาโล. (2549). คู่มือจิตอาสาโครงการอาสาเพื่อในหลวง. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายจิตอาสา.

ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: ส านักนายกรัฐมนตรี.

ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค.

ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิก.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2547). จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Brundage, D. H. (1980). Adult learning principles and their application to program planning.

Ontario: The Ontario Institute for Studies in Education.

Martin, R. A. (1990). Empowering adults: A new agenda for agriculture. A model for research

collaboration in the North Central Region. Ames: Iowa State University.