การพัฒนามาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล (RAS) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ลงทุนหุ้นสามัญชาวไทยในปี พ.ศ. 2561 อายุ 20 ปี ขึ้นไป จำนวน 905 คน การวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างข้อคำถามและการวิเคราะห์คุณภาพของข้อคำถามสำหรับมาตรวัดฯ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน 2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดฯ และ 3) การสร้างปกติวิสัยมาตรวัดฯ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน การทดสอบค่าความเที่ยงของมาตรวัดฯ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 55 คน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1) RAS ประกอบด้วยข้อคำถามที่มีคุณภาพผ่านการวิเคราะห์ตามหลักการทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ Graded Response Model มีจำนวน 26 ข้อ จำแนกเป็นข้อคำถามด้านความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงการลงทุน 19 ข้อ และข้อคำถามด้านความเต็มใจในการยอมรับความเสี่ยงการลงทุน 7 ข้อ
2) RAS มีความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 34.30 ที่องศาอิสระเท่ากับ 16 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .96 และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .93
3) ปกติวิสัย RAS จำแนกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 19 ลงมา แสดงถึง ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญระดับความเสี่ยงต่ำ 2) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 20 ถึง 39 แสดงถึง ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญระดับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ 3) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 40 ถึง 60 แสดงถึง ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญระดับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง 4) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 61 ถึง 80 แสดงถึง ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญระดับความเสี่ยงสูง และ 5) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 81 ขึ้นไป แสดงถึง ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญระดับความเสี่ยงสูงมาก
มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคลที่พัฒนาขึ้น มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ .74 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
Article Details
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). หลักสูตรทดสอบผู้แนะนำการลงทุน: การให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม. วันที่ค้นข้อมูล 11 ธันวาคม 2559, เข้าถึงได้จาก https://www.set.or.th/professional/
Download/licence/TSI_Announcement/TSI_025_1-2557.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ (2556). ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ.35/2556 เรื่องมาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้างการบริหารงาน ระบบงานและการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า.
Ali, I. (2014). Risk Preferences of Bangladeshi Individual Investors towards Investment in Capital Market, Manarat International University Studies, 3(1), 18-26.
Bland, J. M., & Altman, D. G. (1997). Statistics notes: Cronbach's alpha. Bmj, 314(7080), 572.
Bunderson, C. V., Inouye, D. K., & Olsen, J. B. (1988). The four generations of computerized educational measurement. In R.L. Linn (Ed.), Educational Measurement (3rd ed, pp. 367-408). New York: Macmillan.
Campbell, J. Y. (2006). Household finance. The Journal of Finance, 61(4), 1553-1604.
Corter, J. E., & Chen, Y. J. (2006). Do investment risk tolerance attitudes predict portfolio risk? Journal of Business and Psychology, 20(3), 369-381.
Davey, G., (2012). Assessing Risk Tolerance. CPA Practice Management Forum, 8(9), 5-7.
Davey, G., (2015). Getting Risk Right. Investment Management Consultant Association Inc., March-April, 33-39.
De Ayala, R. J. (2009). The theory and practice of item response theory. Psychometrika, 75(4), 778-779.
Embetson, S. E., & Reise, S.P. (2000). Item response theory for psychologists. United States of America: Sage Publication.
Financial Conduct Authority. (2016). Financial Advice Market Review: Final report. Report. Financial Conduct Authority. London: Financial Conduct Authority.
Grable, J. E. (2008). Risk tolerance. In Handbook of Consumer Finance Research (pp. 3-19). New York: Springer.
Gravetter, F. J., & Forzano, L. B. (2012). Research Methods for The Behavioral Sciences. (4th ed.) Belmont, CA: Wadsworth Cengage Learning.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.
Hambleton, R. K., & Swaminathan, H. (1985). Item Response Theory: Principles and Applications. Berlin: Springer Science & Business Media.
Hambleton, R. K., Swaminathan, H. & Rogers, H. J. (1991). Fundamentals of Item Response Theory. Thousand Oaks: Sage Publications.
Jiang, S., Wang, C., & Weiss, D. J. (2016). Sample size requirements for estimation of item parameters in the multidimensional graded response model. Frontiers in Psychology, 7, 109.
Linciano, N., & Soccorso, P. (2012). Assessing Investors' Risk Tolerance Through a Questionnaire. Rome: Commissione Nazionale per le Societa e la Borsa.
Lord, F. M. (2012). Applications of Item Response Theory to Practical Testing Problems. Abingdon: Routledge.
Markowitz, H. (1952). Portfolio selection. The Journal of Finance, 7(1), 77-91.
Michalos, A. C. (2014). Encyclopedia of Quality of Life and Well-Being Research. Dordrecht: Springer Netherlands.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychological theory. New York, NY: MacGraw-Hill.
Palma, A., & Picard, N. (2010). Evaluation of MiFID Questionnaires in France. (Technical Report). Paris: Autorité des Marchés Financiers.
Roszkowski, M. J., Davey, G., & Grable, J. E. (2005). Insights from Psychology and Psychometrics on Measuring Risk Tolerance. Journal of Financial Planning, 18(4), 66-76.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
Tavakol, M., & Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach's alpha. International Journal of Medical Education, 2, 53-55.
Veld, C., & Veld-Merkoulova, Y. V. (2008). The risk perceptions of individual investors. Journal of Economic Psychology, 29(2), 226-252.
Walker, J., Bohnke, J. R., Cerny, T., & Strasser, F. (2010). Development of symptom assessments utilising item response theory and computer-adaptive testing-A practical method based on a systematic review. Critical reviews in oncology/hematology, 73(1), 47-67.