อิทธิพลของรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและ ช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) ที่มีต่อเจตคติของประชาชน

Main Article Content

อรสา สายมนตรี
สุธานันธ์ โพธิ์ชาธาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อเจตคติ ของประชาชนต่อสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด นครราชสีมา (สาขาพิมาย) 2) เพื่อศึกษาเจตคติของประชาชนจากการประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติของประชาชนต่อสำนักงานอัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) ประชากร เป้าหมายในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มาขอรับบริการกับสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ได้มา โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีกทั้งใช้สถิติ เชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ค่าถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์มีผลต่อเจตคติของประชาชนต่อสำนักงาน อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อ เจตคติสูงสุด คือ ด้านสื่อบุคคล รองลงมาคือ ด้านสื่อกิจกรรม ด้านสื่อมวลชน และด้านสื่อใหม่ ตามลำดับ 2. เจตคติของประชาชนจากการประชาสัมพันธ์ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีเจตคติต่อการประชาสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านพฤติกรรมการโต้ตอบ รองลงมาคือ ด้านความรู้สึก และด้านความรู้ ความเข้าใจ ตามลำดับ 3. รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพล ต่อเจตคติของประชาชนต่อสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านสื่อบุคคล ( = 0.368) ด้านสื่อกิจกรรม ( = 0.458) และด้านสื่อใหม่ ( = 0.145) และสามารถร่วมกันพยากรณ์เจตคติของ ประชาชนต่อสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด นครราชสีมา (สาขาพิมาย) ได้ร้อยละ 71.80

Article Details

How to Cite
สายมนตรี อ., & โพธิ์ชาธาร ส. (2017). อิทธิพลของรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและ ช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา (สาขาพิมาย) ที่มีต่อเจตคติของประชาชน. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63–76. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/189629
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฐิติรัตน์ บำรุงวงศ์. (2555). การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐนัย สุขมี. (สัมภาษณ์). อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด. 28 ตุลาคม 2558.

ธนพร ศิลป์ประเสริฐ. (สัมภาษณ์). นิติกรชำนาญการ. 16 พฤษภาคม 2559.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). การวัดเจตคติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์วิทยาออฟเซทการพิมพ์

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2556). คิด พูด ทำ ประชาสัมพันธ์อย่างไร ให้ โดนใจ ผู้รับ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ บุ๊คส์ ทู ยู

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 4. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรศรา วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์. (2548). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการประชาสัมพันธ์โดยใช้พริตตี้เกิรล์ ในงาน Thailand International Motor Expo. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

วิมลพรรณ อาภาเวท. (2557). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2559). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด 2559-2560. เข้าถึงเมื่อ (21 มีนาคม 2559). เข้าถึงได้จาก (https://www.ago.go.th/Plan_2559-2562/Plan_4years.pdf)

อภิรัตน์ สุภาผล. (2547). เจตคติของประชาชน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อสื่อประชาสัมพันธ์ในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า. ปัญหาพิเศษศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์ Public Relations Media. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด

Freedman, J.L., Merrill, C.J. and Sears, D.O. (1970). Social Psychology. Englewood Cliffs, New Jersey.