วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนภาษาไทยของนักศึกษากัมพูชาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการเรียนภาษาไทยในฐานะที่เป็นภาษา ๆ หนึ่งและศึกษาความต้องการในการเรียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวกัมพูชาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยพระตะบองและในโรงเรียนจังหวัดพระตะบอง ซึ่งเดินทางมาจากหลาย ๆ แห่งในประเทศกัมพูชาจำนวน 173 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติโดยใช้จำนวนร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Means) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลจากการศึกษาพบว่า :
- ทัศนคติต่อการเรียนภาษาไทยในฐานะที่เป็นภาษา ๆ หนึ่งชองนักศึกษาชาวกัมพูชา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างปานกลาง (
= 3.19) ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับสูงสุด 3 อ้นดับแรกคือ ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาที่มีการออกเสียงยากมากที่จะเรียนรู้ได้ (
= 3.53) รองลงมาได้แก่ ภาษาไทยเป็นภาษาที่อุดมด้วยคำศัพท์จำนวนมาก (
= 343) และภาษาไทยนั้น เป็นภาษาที่ไพเราะและมีความสละสลวย (
= 3.28) ตามลำดับ
- ความต้องการในการเรียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวกัมพูชาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างปานกลาง (
= 3.89) ต้านที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ความต้องการที่จะทำงานและได้รับเงินเดือนที่สูงในประเทศไทย (
= 4.24) รองลงมาต้องการที่จะมีเพื่อนเป็นคนไทยโดยติดต่อผ่านอีเมล์หรือเฟสบุ๊ค (
= 4.03) และต้องการที่จะอ่านหนังสือไทยและวารสารไทยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น (
= 4.04) ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Endoo Pisutpong. (2014). A Top Hit Thai Class for Cambodian People. Post-Today, B15. Thailand: Bangkok.
Haviland, Prins, Walrath, McBride. (2008). Introduction to Anthropology. India: Cengage Learning India Private Limited.
Karnchanawasri Sirichai, Srisukho Direk and Pituyanon Taweewat. (1992). Techniques to Choose Statistics for Social Science Research. Bangkok: Chulalongkorn.
Lyons John. (1970). Noam Chomsky (revised edition). Harmondsworth: Penguin Books.
Siwapatomchai Sunida. (2011). Cross - border education between Thailand and Cambodia: Burden or opportunity. Access (22 August 2014). Available (https://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/FullPaper/JLC30-1-Sunida-SW.pdf)
Srisa-art Boonchom. (2002). Research Statistics. Bangkok: Srisuriyasarn Print
Treeviset Boonsner. (2015). A Decade of Thai Teaching Center: Royal University of Phonom Phenh. Access (22 August 2014). Available (https://arts.hcu.ac.th/upload/files/JournalLib/5-918.pdf)