การศึกษาการเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา กับการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน โดยมีสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรง 4 สาขาวิขา คือ สาขาวิขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิขาวิศวกรรมสำรวจสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาการบัญชี สังกัดคณะบริหารธุรกิจโดยเก็บข้อมูลเฉพาะนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาปี พ.ศ. 2558- 2559 จำนวน 2,.348 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Yamane) ใช้วิธีสุ่มโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา กับการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (= 3.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะการปฏิบัติงาน นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมในระดับมาก (
= 4.09) และด้านภาษาและวัฒนธรรม นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง (
= 2.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน พบว่า
1) ค้านทักษะการปฏิบัติงาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเน้นทักษะด้านภาษาอังกฤษ (ฟัง - พูด) สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริงในระดับมากที่สุด (= 4.54) รองลงมาคือ โครงการด้านวิชาการและวิชาชีพ (AD) ช่วยเสริมให้เกิดความพร้อมในการทำงานในระดับมากที่สุด (
= 4.53) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ แผนการเรียนกลุ่มการฝึกงานมีความสอดคล้องกับการทำงานในระดับปานกลาง (
= 3.41)
2) ด้านภาษาและวัฒนธรรม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ภาษาอังกฤษ มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.72) รองลงมาคือ นักศึกษารู้จักวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนในระดับปานกลาง (
= 2.62) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องกับการนำไปใช้ในการทำงานมาก (
= 3.74)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จันทร์พา ทัดภูธร. (2556). การศึกษาความพร้อมเเละการเตรียมตัวทางด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเขียนเพื่อรองรับการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเขียนในปีพุทธศักราช 2558. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร
นพดล สดันศิณิชย์กุล. (2554). การศึกษาความพร้อมด้านเทคโนโลยีของสถานศึกษาอาชีวศึกษาไทย เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเขียน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ฝ่ายสารสนเทศเพื่อการบริหาร. (2556). ข้อมูลนักศึกษาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556.
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมาศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). มหาวิทยาลัยของไทยกับการเข้าประชาคมอาเซียน. เข้าถึงเมื่อ 26 มีนาคม 2557. เข้าถึงได้จาก (www.nicgo.th/gsic/uploadfile/university-ascan.pdf)
สมใจ กงเต็ม. (2555). การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเขียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์