สภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

นฤพนธ์ ศรีปากดี
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร จำแนกตามระดับการศึกษาและอายุของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน. ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 111 คน กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.89-0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0:91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ f-test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่าสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของ นักศึกษา กศน. ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการติดตาม ประเมินผลและรายงานผล ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของนักศึกษา กศน. ตำบลจันทร์เพ็ญ จำแนกตามระดับการศึกษา ระหว่างระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานจัดการศึกษานอกระบบของ กศน. ดำบลจันทร์เพ็ญ จำแนกตามอายุ ระหว่าง อายุต่ำกว่า 35 ปี อายุระหว่าง 35 -45 ปี และอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยนักศึกษาที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป จะมีการรับรู้ที่มากกว่านักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปีและนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 35-45 ปี

Article Details

How to Cite
ศรีปากดี น., & ศรีพุทธรินทร์ ส. (2016). สภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 104–113. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/193664
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2541). การพัฒนาคนโดยวิธีการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภา

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. 2557). ศูนย์การเรียนชุมชน. เข้าถึงเมื่อ (11 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงได้จาก (www.dla.go.th)

บุญชม ศรีสะอาด. (2551). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก

ประสิทธิ์ อดมาก. 2549). กิจกรรมสร้างความส้มพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

พิมพ์ใจ เมษฐ์สุกใส. (2552). การพัฒนาต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรข.) ของประเทศเพื่อนบ้าน.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปี 2552. กรุงเทพมหานคร : รังสีการพิมพ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2557). ทฤษฎีความต้องการเรียนรู้ของมนุษย์ของ เดวิค ซี.เเมลเคิลเเลนด์ (M Clelland's Learned Need Theory). เข้าถึงเมื่อ (17 ตุลาคม 2557).เข้าถึงได้จาก (www.stat.rmuttac.th/)

ศุภวัฒน์ มณีอรุณฉาย. (2548). ความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียนวัดทรายมูลและโรงเรียนวันส้นโค้ง อาเภอสันกำเเพง จังหวัดเขียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุกิจ จันทรังสิกุล. (2548). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่บีเต่อการให้บริการของพนักงานท่าอากาศยานตรัง. สารนิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกริก

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกศูนย์การศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอธยาศัยอาเภอวัดสิงห์ จังหวัดขัยนาท. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).สำนักนโยบายและแผนการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : พริกทวานกราฟฟิค

Krejcie, Robert V. and Daryle, W. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement. Vol. 30. No. 3. p.608