การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สำนวนไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติ

Main Article Content

ดาริณี เล็กดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สำนวนไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และความคงทนหลังการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 และขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเขียงยืนวิทยา จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบบทบาทสมมุติแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ชองนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ


ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Dependent Sample) และ t-test (Independent Sample)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. แผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.24/83.75 และ 86.59/88.07

  2. แผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7839 และ 0.8482 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 78.39 และ 84.82


  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ทั้งสองแบบ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่ระดับ 0.01


  1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมบทบาทสมมุติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์ และความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
เล็กดี ด. (2015). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สำนวนไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับแบบบทบาทสมมุติ. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 37–47. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/195438
บท
บทความวิจัย

References

ขันทอง สีพิกา. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง รักเมืองไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรมแบบปกติที่ประยุกต์ไข้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมเเบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เธียร พานิช. (2544). 4 MAT การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

นิรมล สมตัว. (2552). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ส่านวน สุภาษิตและค่าพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปัญจพร อะโนดาษ. (2547). การเปรียบเทียบผลของการใช้บทบาทสมมุติและการใช้กรณีตัวอย่างที่มีต่อพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสุนทรพิขิตารามอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประญัติ บุตรมะลา. (2550). ผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). การศึกษา
ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พิสมัยแก้วทาสี.(2550). การพัฒนาการอ่านและการเขียนค่ำประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาคหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สุกัญญา ศิลปะระสารท. (2544). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ. สารนิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

Jackson, Herman B. (2000). Teaching to a Diversity of Learning Styles : Using 4 MAT Model in a Block Scheduled School. Dissertation Abstracts International. 60(09): 3218-A; March