การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนและความฉลาดทางอารมณ์ เรื่อง คำราชาศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมุติกับแบบ BBL

Main Article Content

รังสิมันตุ์ ฉิมรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำราชาศัพท์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบบทบาทสมมุติและแบบ BBL ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำราชาศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบบทบาทสมมุติและแบบ BBL 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียน เรื่อง คำราชาศัพท์ ด้วยการจัดกิจกรรมแบบบทบาทสมมุติกับแบบ BBL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ไนการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านรามราช จำนวน 40 คน จาก 2 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ไนการวิจัย มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบทบาทสมมุติและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL รูปแบบละ 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ้านวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.62 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.49 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบทบาทสมมุติกับแบบ BBL เรื่อง คำราชาศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.75/84.62 และ 83.54/80.37

  2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบทบาทสมมุติกับแบบ BBL เรื่อง คำราชาศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7713 และ 0.6616 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.13 และ 66.16

  3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบทบาทสมมุติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคงทนและความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ฉิมรักษ์ ร. (2015). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนและความฉลาดทางอารมณ์ เรื่อง คำราชาศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมุติกับแบบ BBL. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 48–57. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/195443
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ก). หลักสูตรเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ข). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว

จิรัณดา กั้วพิสมัย. (2548). การพัฒนาแผนการสอนการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยขั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน์. (2549). จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ :ธารอักษรสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2554). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2553 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6).

วัชรินทร์ แสงจันดา. (2549). ผลการจัดประสบการณ์การเล่นบทบาทสมมุติประกอบการเล่านิทานโดยใช้เทคนิคเบี้ยอรรถกรที่มีต่อความสามารถทางภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ : การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วราภรณ์ ปานทอง. (2549). ผลของการเล่านิทานคติธรรมประกอบการเล่น บทบาทสมมุติที่มีต่อพฤติกรรมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์: การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ