การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบโครงงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบโครงงานระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดแก้ปัญหาและความพึงพอใจในการเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 รวมนักเรียน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบวัดการคิดแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ สถิติที่ไข้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูต t-test (Dependent Samples) และ One-Way ANCOVA
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา มีค่าเท่ากับ
84.38/84.63 และ 87.33/90.06
- ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบโครงงานมีค่าเท่ากับ 0.788 และ 0.831
- นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบโครงงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
- นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบโครงงาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดแก้ปัญหาและความพึงพอใจสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงฯ
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ
กฤษฎา คูหาเรืองรอง. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และเจตคติต่อวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและแบบวัฏจักรการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การจัดการการเรียนรู). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
จิตติพงษ์ ปะกิระเนย์. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์กับการสอนปกติ. สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ดุลย์ สีมา. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงเรขาคณิตและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ซองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) และกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. สาขาวิชาการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทิพย์รารา วงษ์สด. (2553). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
นันทิภาคย์ เรืองเขียว. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธีสอนแบบโครงงานกับวิธีสอนแบบศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อาเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ประภาพร พลไชย. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิมลรัตน์ สุทรโรจน์. (2555). การออกเเบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Childress, P.N. (2008). The Effect of Science Project Production in an Elementary School Science Curriculu. Dissertation Abstracts International. Vol. 39. No. 7. pp. 164-A
Howick, T.S. (2009). Case Study of a Sixth-Grade Class Using Marine Science Project : For SEA. Dissertation Abstracts International. Vol. 52. No. 6. pp. 4283-A