การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของงานทำเทียนด้วยมือ ในกลุ่มช่างทำเทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จารุพร ดวงศรี
ญาณิฐา แพงประโคน
ชัยกฤต ยกพลชนชัย
คมสันต์ ธงชัย
รัชนี จูมจี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของงานทำเทียนด้วยมือในกลุ่มช่างทำเทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้เทคนิคประเมินดัชนีความเสี่ยงของมือ Strain Index (SI) กลุ่มประชากร คือ ช่างทำเทียนพรรษาทั้งหมดจำนวน 41 คน เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์แบบประเมินดัชนีความเสี่ยงของมือ Strain Index (SI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สำหรับข้อมูลส่วนบุคคล และค่าดัชนีความเสี่ยงของมือในการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า ช่างทำเทียนพรรษาเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 80.49 อายุงานส่วนใหญ่ 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.27 อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 31 - 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 21.95 และพบว่าส่วนใหญ่ถนัดมือขวาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินอาการเจ็บปวดด้วยแบบสัมภาษณ์ความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 7 วันที่ผ่านมาพบว่า อวัยวะของร่างกายที่มีอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อมากที่สุดของช่างทำเทียนพรรษา คือ ข้อมือ/มือ โดยมีระดับอาการปวดที่ระดับ 9 คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินดัชนีความเสี่ยงของมือด้วย
Strain Index (SI) พบว่า งานทำเทียนพรรษาด้วยมือทั้งสองข้าง มีค่าคะแนนความเสี่ยง SI มากกว่า 7 หมายถึง งานทำเทียนด้วยมือเป็นการทำงานไม่ปลอดภัยอาจเกิดอันตราย มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์บริเวณมือและข้อมือมาก ควรมีการอบรมเรื่องการทำงานอย่างปลอดภัยและใช้เครื่องมือช่วยในการทำงานเพื่อลดการออกแรงที่มือ

Article Details

How to Cite
ดวงศรี จ., แพงประโคน ญ., ยกพลชนชัย ช., ธงชัย ค., & จูมจี ร. (2022). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของงานทำเทียนด้วยมือ ในกลุ่มช่างทำเทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 53–63. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/258489
บท
บทความวิจัย

References

ข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขอลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการ พ.ศ. 2555. (2555, 23, สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนพิเศษ 128 ง(129). หน้า 64-66

จารุพร ดวงศรี, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข และปวีณา มีประดิษฐ์. (2559). ผลของการปรับปรุงความสูงของสถานีงานเพื่อลดความเสี่ยงของหลังส่วนล่างในผู้ประกอบอาชีพหัตถกรรมจากไม้เก่า ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6 The 6th STOU National Research Conference. นนทบุรี, 25 พฤศจิกายน 2559.

ญาณิฐา แพงประโคน, จารุพร ดวงศรี, คมสันต์ ธงชัย, รัชนี จูมจี และชัยกฤต ยกพลชนชัย. (2564). การชี้บ่งอันตรายและการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในงานทำเทียนพรรษาสำหรับชุมชนทำเทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 15, ฉบับที่ 38, หน้า 443-455

นภาพร หงษ์ภักดี และสืบพงศ์ หงษ์ภักดี. (2559). ต้นทุนเทียนพรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารนักบริหาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 2, หน้า 62-78

พระดบัสวิน แสนสุริวงค์ และธีรชัย บุญมาธรรม. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, หน้า 13-23

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. (2541, 20, กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนที่ 8 ก(115). หน้า 1-44

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. (2562, 5, เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนที่ 43 ก(136). หน้า 21-29

วิวัฒน์ สังฆะบุตร และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). ความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในแรงงาน นอกระบบกลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. KKU Research Journal (Graduate Studies). ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, หน้า 135-148

อรณิชา ยมเกิด. (2557). การประเมินและการปรับปรุงภาระงานทางการยศาสตร์ในอุตสาหกรรมตีมีด. Ph.D. Thesis. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Castarlenas, E., Jensen, M. P., von Baeyer, C. L., and Miró, J. (2017). Psychometric Properties of the Numerical Rating Scale to Assess Self-Reported Pain Intensity in Children and Adolescents: A Systematic Review. The Clinical Journal of Pain. Vol. 33, Issue 4, pp. 376-383. DOI: 10.1097/AJP.0000000000000406

Essien, S. K., Trask, C., Dosman, J., and Bath, B. (2017). Investigating the Association Between Lower Extremity and Low Back Symptoms Among Saskatchewan Farmers Using the Standardized Nordic Questionnaire. Spine. Vol. 42, Issue 19, pp. E1147-E1154. DOI: 10.1097/BRS.0000000000002113

Garg, A., Kapellusch, J., Hegmann, K., Wertsch, J., Merryweather, A., Deckow-Schaefer, G., Malloy, E. J., and the WISTAH Hand Study Research Team. (2012). The Strain Index (SI) and Threshold Limit Value (TLV) for Hand Activity Level (HAL): Risk of Carpal

Tunnelsyndrome (CTS) in a Prospective Cohort. Ergonomics. Vol. 55, Issue 4, pp. 396-414. DOI: 10.1080/00140139.2011.644328

Kapellusch, J. M., Silverstein, B. A., Bao, S. S., Thiese, M. S., Merryweather, A. S., Hegmann, K. T., and Garg, A. (2018). Risk Assessments Using the Strain Index and the TLV for HAL, Part II: Multi-Task Jobs and Prevalence of CTS. Journal of Occupational and Environmental Hygiene. Vol. 15, Issue 2, pp. 157-166. DOI: 10.1080/15459624.2017.1401709

Kuorinka, I., Jonsson, B., Kilbom, A., Vinterberg, H., Biering-Sørensen, F., Andersson, G., and Jørgensen, K. (1987). Standardised Nordic Questionnaires for the Analysis of Musculoskeletal Symptoms. Applied Ergonomics. Vol. 18, Issue 3, pp. 233-237. DOI:

1016/0003-6870(87)90010-x

López-Aragón, L., López-Liria, R., Callejón-Ferre, Á. J., and Gómez-Galán, M. (2017). Applications of the Standardized Nordic Questionnaire: A Review. Sustainability. Vol. 9, Issue 9, p. 1514. DOI: 10.3390/su9091514

Mannion, A. F., Balagué, F., Pellisé, F., and Cedraschi, C. (2007). Pain Measurement in Patients with Low Back Pain. Nature Clinical Practice Rheumatology. Vol. 3, Issue 11, pp. 610-618. DOI: 10.1038/ncprheum0646

Moore, J. S. and Garg, A. (1995). The Strain Index: A Proposed Method to Analyze Job for Risk of Distal Upper Extremity Disorders. American Industrial Hygiene Association Journal. Vol. 56, Issue 5, pp. 443-458. DOI: 10.1080/15428119591016863

Paulsen, R., Gallu, T., Gilkey, D., Reiser II, R., Murgia, L., and Rosecrance, J. (2015). The Inter-Rater Reliability of Strain Index and OCRA Checklist Task Assessments in Cheese Processing. Applied Ergonomics. Vol. 51, pp. 199-204. DOI: 10.1016/j.apergo.

04.019

Rosecrance, J., Paulsen, R., and Murgia, L. (2017). Risk Assessment of Cheese Processing Tasks Using the Strain Index and OCRA Checklist. International Journal of Industrial Ergonomics. Vol. 61, pp. 142-148. DOI: 10.1016/j.ergon.2017.05.009

Valentim, D. P., de Oliveira Sato, T., Comper, M. L. C., da Silva, A. M., Boas, C. V., and Padula, R. S. (2018). Reliability, Construct Validity and Interpretability of the Brazilian Version of the Rapid Upper Limb Assessment (RULA) and Strain Index (SI). Brazilian Journal of Physical Therapy. Vol. 22, Issue 3, pp. 198-204. DOI: 10.1016/j.bjpt.2017.08.003