ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความยั่งยืนมรดกทางวัฒนธรรมของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับความยั่งยืนมรดกทางวัฒนธรรม และศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความยั่งยืนมรดกทางวัฒนธรรมของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารจำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตามความสะดวก จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และประมาณค่าด้วยวิธีแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง เพื่อทำการหาอนุพันธ์ลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความยั่งยืนมรดกทางวัฒนธรรมที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญมากที่สุดคือ การอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นภายในวัด สำหรับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความยั่งยืนของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารที่ถูกวัดมาจากปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ปัจจัยด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม 2) ปัจจัยด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร 4) ปัจจัยด้านสภาพสิ่งแวดดล้อมโดยรอบ พบว่าแบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าไคสแควร์ = 212.412, Degree of Freedom = 182, Chi-square /df = 1.167, p = 0.06, RMSEA = 0.02, CFI = 0.995, TLI = 0.993, SRMR = 0.026 ซึ่งปัจจัยด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กมลชนก จันทร์เกต. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กมลภพ ทิพย์ปาละ. (2555). กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กิตติชัย วรรณไกรรุ่ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเมืองพัทยา. เข้าถึงเมื่อ (26 สิงหาคม 2566). เข้าถึงได้จาก (https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:168509)
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์. (2565). แนวทางการจัดการคุณค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างความยั่งยืน พื้นที่ชุมชนลุ่มแม่นํ้าสุพรรณบุรี ประเทศไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 44 หน้า 3-18
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 หน้า 25-46
ณัฏฐินิ ทองดี. (2560). ความพอเพียง : ฐานคิดการรักษามรดกทางวัฒนธรรมในภาคอีสานสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 หน้า 35-58
ดําเกิง อัศวสุนทรางกูร. (2562). บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 หน้า 1126-1139
ทองคำ ดวงขันเพ็ชร และพระเดชขจร ขนฺติธโร (ภูทิพย์). (2564). การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มนํ้าโขง (รายงานการวิจัย). เข้าถึงเมื่อ (26 สิงหาคม 2566). เข้าถึงได้จาก (http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/641)
ทับทิม เป็งมล, สิริลักษณ์ กัลยา และณัฐวุฒิ วิทา. (2561). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 หน้า 93-106
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปุณยวีร์ ศรีรัตน์. (2559). การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 หน้า 149-158
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง และวราภรณ์ ปัญญาวดี. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e- JODIL). ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 79-104
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, อัครพงศ์ อั้นทอง, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์, กุลดา เพ็ชรวรุณ และนุกุล เครือฟ. (2556). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว Tourism Economics. เชียงใหม่ : สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
รสริน ศรีริกานนท์. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2562). โครงสร้างของระบบการท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 หน้า 94-102
ศักรินทร์ นนทพจน์. (2564). ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
ศิรินทร์ สังข์ทอง และอารีย์ฏา ถิรสัตยาพิทักษ์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 หน้า 1-21
ส.ศิริชัย นาคอุดม, พรรณนภา เขียวน้อย และศิวพร ถาวรวงศา. (2561). ยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 หน้า 48-61
หลิว ชวนฝู่ และวันชัย แก้วไทรสุ่น. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการอย่างยั่งยืนของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์เอ้อเหรินชุนข้ามพรมแดน. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 หน้า 567-581
อมรา วีระวัฒน์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนในเขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา: พันธกิจที่ต้องทบทวน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 หน้า 3084-3097
อัครินทร์ อังกูรวงษ์วัฒนา. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 หน้า 11-17
อภิศักดิ์ คู่กระสังข์. (2565). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเขตบางเขน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ปีที่ 13 หน้า 1 หน้า 1-18
Vu Trong Quyen. (2564). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เมืองโบราณฮอยอันจังหวัดกวางนาม ประเทศเวียดนาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 433-444
Griffith, M. (2015). Item Analysis with Cronbach's Alpha for Reliable Surveys. Access (20 April 2022). Available (https://blog.minitab.com/en/meredith-griffith/item-analysis-with-cronbachs-alpha-for-reliable-surveys)
ICOMOS. (1964). The Venice Charter. Access (20 April 2022). Available (https://www.icomos.org/en/participer/179-articles-en-francais/ressources/charters-and-standards/157-thevenice-charter)
Ngamsonsuke, W., Hwang, T. C., and Huang, C. J. (2011). Sustainable Cultural Heritage Indicators. In 2011 International Conference on Social Science and Humanity C ICSSH 2011. pp. 516-519
Nonthapot, S. and Lean, H. H. (2015). International Tourism Market Analysis in the Greater Mekong Sub-Region: A Panel Data Approach. Social Sciences & Humanities. Vol. 23 No. 4 pp. 945-966
Nonthapot, S., Wongsiri, A., and Gurdeep, S. (2019). Analysis of Mediator Impact On Marketing Promotion and Community-Based Tourism Economic Growth of BAAN JOM JAENG and SI KAI Villages, Muang District, NONG KHAI Province, Thailand. In The 1st International Conference on Economics, Business and Tourism (ICEBT-2019). Nong Khai: Khon Kaen University
Polit, D. F. and Beck, C. T. (2006). The Content Validity Index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health. Vol. 29 Issue 5 pp. 489-497. DOI: 10.1002/nur.20147
W.G. Cochran. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc