คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ

รูปแบบการเขียนบทความ

รูปแบบการเขียนบทความวิจัย (Word)                     รูปแบบการเขียนบทความวิจัย (PDF)

 

รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ (Word)              รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ (PDF)

สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ

วิทยาลัยบริหารศาสตร์ อาคารเทพ พงษ์พานิช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ 0-5387-5540-5 email: [email protected] Website: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ 

  1. รศ.ดร.เฉลิมชัย ปัญญาดี      081-8840066
  2. ผศ.ดร.วินิจ ผาเจริญ            093-2419191
  3. นางนิตยา ไพยารมณ์           081-8850800

>>ดูวิธีการและขั้นตอนการสมัครสมาชิกและลงทะเบียนบทความได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=eoaAlU1B1rM 

กระบวนการพิจารณาบทความของวารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์

     

วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ  ดังนี้

                -ผู้เขียนบทความที่เป็นบุคคลทั่วไป เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสาร อัตราเรื่องละ 5,000 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมและแจ้งการชำระค่าธรรมเนียม ภายใน 15 วัน ภายหลังจากได้รับแจ้งผลการพิจารณากลั่นกรองบทความ (ขั้นต้น) จากกองบรรณาธิการ (ก่อนที่จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ) โดยชำระเงินที่ ธนาคารกรุงไทย  สาขาแม่โจ้  ชื่อบัญชี "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" เลขที่ 375-0-86661-9 ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ 

                -สำหรับผู้เขียนบทความที่เป็นบุคลากรสังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเป็นผู้เขียนที่เป็นชื่อแรก (First Author) หรือเป็นชื่อหลัก (Corresponding Author) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ผลงาน

การแจ้งการชำระค่าธรรมเนียม ขอให้แจ้งรายละเอียดในอีเมล์วารสาร ([email protected])  ดังนี้

  1. ชื่อ-สกุล (ต้องเป็นชื่อเดียวกับผู้เขียนบทความ)
  2. เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
  3. ธนาคารที่โอนเงิน
  4. เลขที่บัญชีที่โอนเงิน
  5. จำนวนเงิน
  6. วัน เวลาที่โอนเงิน
  7. ที่อยู่ที่ให้ออกใบเสร็จรับเงิน
  8. ระบุช่องทางการส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้เขียน (อีเมล์/ไปรษณีย์-ระบุที่อยู่จัดส่ง)

ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ สำหรับวารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

รายละเอียดของบทความ

1. ประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร

วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้

1.1 บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ

1.2 บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป

1.3 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน

 

การส่งบทความ

บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ต้องส่งผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ Website: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ

 

การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร

ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร

 

การเตรียมบทความ

บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH SarabunPSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้าย และด้านขวา ขนาด 3.81 ซม. ด้านบน ขนาด 4.5 ซม. และด้านล่าง ขนาด 4.01 ซม. พร้อมใส่หมายเลขหน้ากำกับทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความไม่ควรยาวเกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ (A4) โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง

 

การพิจารณาและคัดเลือกบทความ

บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน* (*เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 64) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind Peer Review)

 

2. ส่วนบทคัดย่อ (Abstract)

บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง บทความวิจัย/วิชาการ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง และให้มีเพียง 3 ส่วนเท่านั้น คือ

1) วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา

2) ผลการวิจัยพบว่า ควรประกอบด้วย ผลที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา และผลของค่าสถิติ (ในกรณีมีการวิเคราะห์)

3) คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 3 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษาและจะปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (;)

 

3. ส่วนเนื้อเรื่อง ควรประกอบด้วย

3.1 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิจัย ประกอบด้วย

3.1.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้

3.1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย รวมถึงรวบรวมหลักการ วิธีการ โดยมีรายละเอียดว่าจะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน

3.1.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด วิธีการ กิจกรรมรายละเอียดของการวิจัย การศึกษาประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล

3.1.4 สรุปผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.1.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม

3.1.5 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์ นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

3.1.6 องค์ความรู้จากการวิจัย (Knowledge of Research) เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย เมื่อผู้นิพนธ์ได้ทำการเปรียบเทียบผลการวิจัยของตนกับผลการวิจัยของผู้อื่น ในหัวข้ออภิปรายผลการวิจัยแล้ว ได้ข้อสรุปที่เป็นความรู้ใหม่ ที่ไม่พบในงานวิจัยที่ทำการเปรียบเทียบมาก่อน เสนอในหัวข้อองค์ความรู้จากการวิจัย ในรูปแบบแผนภูมิ แผนภาพ ผังมโนทัศน์ หรือโมเดล พร้อมคำอธิบายเชิงกระบวนการ วิธีการขั้นตอน คุณค่าประโยชน์ รูปแบบแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการส่งเสริม/การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงของบุคคล สังคม และองค์กร (อธิบายให้กระชับรัดกุม เข้าใจได้ง่าย)

3.1.7 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

3.1.8 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) (รายละเอียด รูปแบบการเขียนอ้างอิงทั้งแบบแทรกในเนื้อหา และอ้างอิงท้ายบทความ ตามหลักเกณฑ์ APA)

 

3.2 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิชาการ ประกอบด้วย

3.2.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้ง

3.2.2 เนื้อหา (Content) เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบเนื้อหาที่ดีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและน่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้เขียนเป็นสำคัญ

3.2.3 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวมหรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น

3.2.4 องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) องค์ความรู้ใหม่ที่ผู้นิพนธ์ต้องการนำเสนอ ในรูปแบบแผนภูมิ แผนภาพ ผังมโนทัศน์ หรือโมเดล พร้อมคำอธิบายเชิงกระบวนการ วิธีการขั้นตอน คุณค่าประโยชน์ รูปแบบแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการส่งเสริม/การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงของบุคคล สังคม และองค์กร (อธิบายให้กระชับรัดกุม เข้าใจได้ง่าย)

3.2.5 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) (รายละเอียด รูปแบบการเขียนอ้างอิงทั้งแบบแทรกในเนื้อหา และอ้างอิงท้ายบทความ ตามหลักเกณฑ์ APA)