เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ

รูปแบบการเขียนบทความ

Research Article Form (Word)                    Research Article Form (PDF)

 

Academic Article Form (Word)                   Academic Article Form  (PDF)

สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ

วิทยาลัยบริหารศาสตร์ อาคารเทพ พงษ์พานิช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ 0-5387-5540-5 email : [email protected]

  1. รศ.ดร.เฉลิมชัย ปัญญาดี      081-8840066
  2. ผศ.ดร.วินิจ ผาเจริญ            093-2419191
  3. นางนิตยา ไพยารมณ์           081-8850800

>>ดูวิธีการและขั้นตอนการสมัครสมาชิกและลงทะเบียนบทความได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=eoaAlU1B1rM 

 

        1. ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร

วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้

1.1 บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ

1.2 บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป

1.3 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน

 

การส่งบทความ

บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ต้องส่งผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ Website: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ

 

การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร

ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร

 

การเตรียมบทความ

บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH SarabunPSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้าย และด้านขวา ขนาด 3.81 ซม. ด้านบน ขนาด 4.5 ซม. และด้านล่าง ขนาด 4.01 ซม. พร้อมใส่หมายเลขหน้ากำกับทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความไม่ควรยาวเกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ (A4) โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง

 

การพิจารณาและคัดเลือกบทความ

บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind Peer Review)

 

        2. ส่วนบทคัดย่อ (Abstract)

บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง บทความวิจัย/วิชาการ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง และให้มีเพียง 2 ส่วนเท่านั้น คือ

1) วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา

2) ผลการวิจัยพบว่า ควรประกอบด้วย ผลที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา และผลของค่าสถิติ (ในกรณีมีการวิเคราะห์)

3) คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 3 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษาและจะปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (;)

 

       3. ส่วนเนื้อเรื่อง ควรประกอบด้วย

3.1 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิจัย ประกอบด้วย

3.1.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้

3.1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย รวมถึงรวบรวมหลักการ วิธีการ โดยมีรายละเอียดว่าจะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน

3.1.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด วิธีการ กิจกรรมรายละเอียดของการวิจัย การศึกษาประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล

3.1.4 สรุปผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.1.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม

3.1.5 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์ นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

3.1.6 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

3.1.7 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมา เพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ

3.2 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิชาการ ประกอบด้วย

3.2.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้ง

3.2.2 เนื้อหา (Content) เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบเนื้อหาที่ดีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและน่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้เขียนเป็นสำคัญ

3.2.3 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวมหรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น

3.2.4 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ

 

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA

        1. หนังสือ

1.1 หนังสือ

(ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))

                    ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล

          ตัวอย่างเช่น      (วินิจ  ผาเจริญ, 2550 : 10)

          (Phacharuen, 2007 : 10)

                    ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2551 : 11-12)

                              (Phacharuen and Phromkun, 2008 : 11-12)

                    ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และเฉลิมชัย ปัญญาดี, 2558 : 80)

                              (Phacharuen, Phromkun and Panyadee, 2015 : 80)

                    ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และคณะ, 2551 : 5)

                              (Phacharuen, et al., 2008 : 5)

                    1.2 วารสาร

                    (ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))

                    ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล

          ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, 2550 : 10)

          (Phacharuen, 2007 : 10)

                    ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2551 : 11-12)

                              (Phacharuen and Phromkun, 2008 : 11-12)

                    ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และเฉลิมชัย ปัญญาดี, 2558 : 80)

                              (Phacharuen, Phromkun and Panyadee, 2015 : 80)

                    ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และคณะ, 2551 : 5)

                              (Phacharuen, et al., 2008 : 5)

 

                    1.3 วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย

                    (ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))

                    ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล

          ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, 2550 : 10)

          (Phacharuen, 2007 : 10)

          ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2551 : 11-12)

                              (Phacharuen and Phromkun, 2008 : 11-12)

                    ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และเฉลิมชัย ปัญญาดี, 2558 : 80)

                              (Phacharuen, Phromkun and Panyadee, 2015 : 80)

                    ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และคณะ, 2551 : 5)

                              (Phacharuen, et al., 2008 : 5)

                    1.4 สัมภาษณ์

                    (ผู้แต่ง, วันที่สัมภาษณ์)

                    ผู้ให้สัมภาษณ์ ให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม

          ตัวอย่างเช่น      (วินิจ  ผาเจริญ), 1 สิงหาคม 2550)

                              (Winit Phacharuen, Interview, August 11 2007)

 

                    1.5 สื่ออิเล็กทรอนิกส์

                    (ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))

                    ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล

          ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, 2550 : 10)

          (Phacharuen, 2007 : 10)

          ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2551 : 11-12)

                              (Phacharuen and Phromkun, 2008 : 11-12)

                    ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และเฉลิมชัย ปัญญาดี, 2558 : 80)

                              (Phacharuen, Phromkun and Panyadee, 2015 : 80)

                    ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ

                    ตัวอย่างเช่น      (วินิจ ผาเจริญ และคณะ, 2551 : 5)

                              (Phacharuen, et al., 2008 : 5)

 

การเขียนบรรณานุกรม

          (1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

          (2) หนังสือ

ชื่อ นามสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ,/ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง:

เสกสรร ประเสริฐกุล. (2552). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพืวิภาษา.

           (3) บทความในหนังสือ

ชื่อ นามสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ในชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)./ชื่อเรื่อง/เลขหน้าแรก-สุดท้ายที่ตีพิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง:

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2562). ข้อถกเถียงเรื่องพระพุทธศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ. ใน ปรีดี หงส์สตัน และอัมพร หมาดเด็น. ศาสนากับความรุนแรง, หน้า 400-459. กรุงเทพมหานคร: Illuminations Editions.

          (4) บทความจากวารสาร

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง:

วินิจ ผาเจริญ. (2561). ขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนต่อการคัดค้านโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยครบวงจรบ้านป่าตึงน้อย ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (2), 431-444.

           (5) บทความในสารานุกรม

ชื่อ นามสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ในชื่อสารานุกรม,/เล่มที่อ้าง, หน้าเลขหน้าที่อ้าง./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง:

สนิท อาจพันธ์. (2537). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ, หน้า 274-275. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

Sturgeon, T. (1995). Science fiction. In The encyclopaedia Americana (Vol. 24, pp. 390-392). Danbury, CT: Grolier Press.

          (6) หนังสือพิมพ์

ชื่อ นามสกุล./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

ตัวอย่าง:

สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น.13.

           (7) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานการวิจัย

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ/                                 ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง:

พระมหาวินิจ ผาเจริญ. (2542). การปกครองของตนเองของชาวบ้าน : กรณีศึกษาบ้านหนองหน่อง ตำบลอีง่อง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

          (8) สัมภาษณ์

ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปี)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์./วัน เดือน. พ.ศ.

ตัวอย่าง:

สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2563). คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สัมภาษณ์. 18 เมษายน. 2560

          (9) สื่อออนไลน์

ชื่อ นามสกุล./(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)

ตัวอย่าง:

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (1 มกราคม 2555). ศาสนากับการเมือง. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9550000101963

Doyle, M. W. (22 June 2004). Liberal Internationalism: Peace, War and Democracy. Retrieved September 2, 2013, from http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/themes/peace/ doyle/index.html

         

ส่วนภาพประกอบ (Figure) และส่วนตาราง (Table)

          ภาพประกอบและตารางควรมีเท่าที่จำเป็น โดยพิมพ์หน้าละ 1 ภาพ หรือ 1 ตาราง สำหรับคำบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์เหนือภาพหรือตาราง ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมให้ใส่ใต้ภาพหรือตาราง

 

การติดต่อโฆษณาและการสมัครสมาชิก

          การติดต่อโฆษณา การสั่งซื้อ และการสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์กรุณาติดต่อ “บรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์” วิทยาลัยบริหารศาสตร์ อาคารเทพ พงษ์พานิช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

โทรศัพท์ 0-5387-5540-5 โทรสาร 0-5387-5540

Website: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ

E-mail: [email protected]

  1. รศ.ดร.เฉลิมชัย ปัญญาดี      081-8840066
  2. อาจารย์ ดร.วินิจ ผาเจริญ    093-2419191
  3. นางนิตยา ไพยารมณ์                   081-8850800

         

กำหนดการออกวารสาร

          ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม

          ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน

          ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน

          ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม