ความคุ้มครองสิทธิของนายเงินตามพระไอยการทาส

Main Article Content

อภิชาติ ปานสังข์
ธนารักษ์ ห้วยเล็ก
แพรวพรรณ ศาสตร์เวช
มณีเพชร ไทยน้อย
เชาวลิต สมพงษ์เจริญ

บทคัดย่อ

              บทความทางวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าความคุ้มครองนายเงินในพระไอยการทาสในประเด็นสิทธิของนายเงินตามกรรมธรรม์ขายฝากทาส   เหตุแห่งการเรียกคืนเงินค่าตัวทาส และการเลิกสัญญา บทความวิชาการนี้  ผู้เขียนจะนำเสนอ 1) บทนำ 2) ผู้เป็นนายเงิน 3) กรมธรรม์ขายฝากทาส 4) บทบัญญัติในพระไอยการทาสที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของนายเงิน และ 5) วิเคราะห์ความคุ้มครองสิทธิของนายเงินตามพระไอยการทาส และ 6) สรุปองค์ความรู้จากบทความบทความนี้ คือ ความคุ้มครองนายเงินเกิดขึ้นจากข้อตกลงในการปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด เมื่อนายเงินได้ชำระค่าตัวของทาสไปแล้ว นายเงินย่อมได้รับมอบทาสตามสัญญา หากไม่มีการส่งมอบตัวทาส หรือเหตุสำคัญอันเกิดแก่ตัวทาสทำให้  นายเงินไม่อาจใช้งานทาสได้ เช่น เป็นโจรผู้ร้าย สัญญาย่อมสิ้นสุดลงทันทีโดยผลทางกฎหมายโดยไม่ต้องมีการบอกเลิกทางสัญญา องค์ความรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาสัญญาตามพระไอยการลักษณะกู้หนี้ ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ให้กู้ซี่งคล้ายคลึงกับนายเงิน และเหตุแห่งการเลิกสัญญาตามพระไอยการนี้ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในเชิงลึกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กำพล เวชสุทัศน์. (2521). กฎหมายตราสามดวง. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ชุติกาญจน์ ฉลองวงศ์. (2555). ประวัติศาสตร์การค้าทาส. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : ก้าวแรก.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2528). การแก้ไขความไม่เป็นธรรมในกฎหมายขายฝาก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมิตร สอดศุข. (2543). วิจัยไทยศึกษา ไทย-จีนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2547). เปิดกรุงภาพเก่ากรุงสยามสมัยรัชกาลที่ 4 เบื้องหลังประวัติศาสตร์ในหนังทวิภพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ก). กรมธรรม์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2562,จาก https://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ข). จุลาจล. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จากhttps://dict.longdo.com

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ฃ). ตกเป็นพับ. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จากhttps://dict.longdo.com

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ค). นายเงิน. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ฅ). ปล้นสะดม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จากhttps://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ฆ). สินไหม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ง). เข็ญใจ. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554จ). เวียง. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ฉ). ป่วยการ. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://dict.longdo.com/search

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ช). อุบาย. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://dict.longdo.com/search

มติชนออนไลน์. (2547). กรมธรรม์. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://www.matichon.co.th

ร.แลงกาต์. (2526). ประวัติศาสตร์กฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

วินัย พงษ์ศรีเพียร. (บก.). (2550). กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน).