จากโฉนดที่ดินฉบับแรกของสยามสู่การได้กรรมสิทธิ์ ในโฉนดที่ดินตามพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127

Main Article Content

ฐิติมา เงินอาจ
ธัญวรรณ อาษาสำเร็จ
วรดา สังอุดม
อรยา สอนโก่ย
เชาวลิต สมพงษ์เจริญ

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการเรื่องจากโฉนดที่ดินฉบับแรกของสยามสู่การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินตามพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องการได้มาซึ่งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของราษฎร และพัฒนาการของการ   ได้กรรมสิทธิ์ในการออกโฉนดที่ดินของสยาม บทความวิชาการนี้  ผู้เขียนจะนำเสนอ 1) บทนำ   2) โฉนดที่ดินฉบับแรกของสยาม 3) การตั้งกองข้าหลวงและกองข้าหลวงตรวจการเพื่อออกโฉนดที่ดินครั้งแรกของสยาม 4) กฎเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการสำหรับการออกโฉนดที่ดิน  5) ความสำคัญของพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 6) ความสำคัญของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของราษฎร 7) ความสำคัญของพัฒนาการของการได้กรรมสิทธิ์ในการออกโฉนดที่ดินของสยาม และ 8) บทสรุป


องค์ความรู้จากบทความนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาพัฒนาการของประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นกฎหมายเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายที่ดิน ซึ่งถือเป็นพัฒนาการของกฎหมายที่ดินที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านในพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 สู่ประมวลกฎหมายที่ดิน และวิธีการชำระข้อพาทเกี่ยวกับที่ดินในประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงประมวลกฎหมายที่ดินในแง่ของมุมประวัติศาสตร์กฎหมายไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฎเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ สำหรับการออกโฉนดที่ดิน. (125, 8 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 23 ตอนที่ 2. หน้า 31.

กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย. (2559). การออกโฉนดที่ดินสมัยแรก. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562, จาก https://www.dol.go.th/museum/Pages/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%

B8%8%E0%B9%82%E0%B8%89%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B81%97%

E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%

AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%B1%E0%B8%A3%E0%

B8%81.aspx

ชัยยา โพธิ์แดง. (2528). การออกโฉนดที่ดินเมืองกรุงเก่าระหว่าง พ.ศ. 2444-2453. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2533). ความรู้ชุดกฎหมายชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : งานโรงพิมพ์ฝ่ายเผยแพร่ความรู้และบริการ กองวิชาการกรมประชาสัมพันธ์.

ที่ปรึกษาและคณะทำงานบริหารและจัดทำหนังสือที่ระลึก. (2551). พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

นงเยาว์ จิตตะปุตตะ. (2549). การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมกับปัญหาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 31(2), 588-604.

ปิยฉัตร บุนนาค, สิริวรรณ นันทจันทูล และสุรีย์รัตน์ บำรุงสุข. (2561). การสูญศัพท์ การเพิ่มศัพท์ และการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของศัพท์ที่เป็นโทษทางอาญาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 13(3), 436-445.

มัณฑนา ชอุ่มผล. (2562). เจ้าของ “โฉนดที่ดิน” ฉบับแรกของไทยกับจุดเริ่มต้นการทำแผนที่และโฉนดแบบใหม่. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2562, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article _6630.

พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (2473, 18 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 47. หน้า 442.

พระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดินรัตนโกสินทร์ ศก 127. (127, 9 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 25. หน้า 1431-1448.

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477. (2478, 7 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 52. หน้า 529.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497. (2497, 30 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 71 ตอนที่ 78 ฉบับพิเศษ. หน้า 1.

พัชรินทร์ คำเจริญ. (2562). ความเป็นมาและประเภทของสิทธิในที่ดินตามกฎหมายของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562, จาก https://www.krisdika.go.th/data/activity/act13477.pdf.

ไพบูลย์ จันทร์ประสิทธิ์. (2558). ปัญหาการครอบครองที่ดินมีสิทธิครอบครอง. กรุงเทพ : สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ.

สำนักงานปฏิรูปที่ดิน. (2551). โฉนดฉบับแรกของประเทศไทย บนผืนดินพระราชทาน. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2562, จาก https://www.alro.go.th/alro_th/download/doc/ jd32_308.pdf.

สุนทรี อาสะไวย์. (2530). ประวัติคลองรังสิต การพัฒนาที่ดินและผลกระทบต่อสังคม พ.ศ. 2431-2457. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสาร การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1). 26-27.