การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของ มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

Main Article Content

ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย รวมถึงเพื่อทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed approach research)  ในการดำเนินการเพื่อให้ได้คำตอบสำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research approach) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research approach) โดยผู้ให้ข้อมูล (Informants) ของการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน  7 คนและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 คน ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สำหรับประชากรของการวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative research approach)  ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศจำนวน 40 แห่ง ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 คน การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ทำโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS และ LISREL สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติอ้างอิงได้แก่ สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis :CFA)


ผลการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบองค์ประกอบการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้แก่ x2 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ x2 /df =0.58  GFI=1.00 AGFI=1.00 RMESA=0.000 น้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบเรียงตามลำดับคือ  การสร้างสรรค์นวัตกรรม (0.93) การสร้างเครือข่าย (0.91) การจัดการองค์ความรู้ (0.87) การสื่อสาร (0.86) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ (0.85) ผู้นำเชิงนวัตกรรม (0.82) และ วัฒนธรรมองค์การ (0.82) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2560). ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563, จาก

https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/e8f4bcc3fa1c6a7c416425d91033eee6.pdf

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563, จาก http://www.industry.go.th/center_mng/index.php/2016-04-24-18-07-42/2016-04-24-18-09-38/2016-04-24-18-10-07/item/10236-4-0

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). นโยบายThailand 4.0 คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563, จาก https://spm.thaigov.go.th/CRTPRS/spm-sp-layout6.asp?i=41111%2E14512702112113121111311

ASEAN.(2014). Thinking Globally, Prospering Regionally — ASEAN Economic Community 2015. Jakarta: ASEAN Secretariat.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications Inc,.

Fields, A. (2009). Discovering statistics using SPSS. 3rd edition. Los Angeles: Sage.

George, D. and Mallery, P. (2010). SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference 17.0 Update. 10th Edition. Boston: Pearson.

Gravetter, F. and Wallnau, L. (2014).Essentials of statistics for the behavioral sciences. 8th Edition. Belmont: Wadsworth.

Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. R. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. The Electronic Journal of Business Research Methods, 6, 54-55.

Jackson, D. L. (2003). Revisiting sample size and number of parameter estimates: Some support for the N: q hypothesis. Structural Equation Modeling,10 (1): 128-141.

Jöreskog, K. G. & Sörbom, D. (1993). LISREL 8: User’s Reference Guide. Chicago: Scientific Software International, Inc,.

Kelloway, E. K. (1998). Using LISREL for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications Inc,.

Víctor, J. García-Morales, Fernando Matías-Reche, & Antonio J. Verd´u-Jover. (2011) Influence of Internal Communication on Technological Proactivity, Organizational Learning, and Organizational Innovation in the Pharmaceutical Sector. Journal of Communication 61,150–177.