แนวทางการแก้ไขปัญหาปรัชญาการเมืองของมหาตมะ คานธี

Main Article Content

พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน (พุดชู)

บทคัดย่อ

              ปัญหาปรัชญาการเมืองปัจจุบันมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาในอดีต คือ ปัญหาระบอบการปกครอง 2 ขั้วที่แตกต่างกันระหว่างประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ แนวคิดทั้งสองระบอบมีพื้นฐานทางปรัชญาจากแนวคิดสสารนิยมและจิตนิยม จากนั้นพัฒนาเป็นแนวคิดทางสายกลางแบบธรรมชาตินิยมที่มีระบอบการปกครองที่อาจเรียกว่า ธัมมิกสังคมนิยม แนวคิดนี้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมทางการเมืองของพระพุทธศาสนาในเรื่องอธิปไตย 3 ที่ว่าด้วย 1) อัตตาธิปไตยซึ่งสอดคล้องกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือคอมมิวนิสต์ 2) โลกาธิปไตยที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย 3) ธัมมาธิปไตยที่สอดคล้องกับการปกครองทุกระบอบที่ยึดหลักความจริงเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์หรือประชาธิปไตยต้องมีธัมมาธิปไตยกำกับ ธัมมิกสังคมนิยมจึงเป็นแนวคิดส่งเสริมจริยธรรมทางการเมือง เช่น กรณีมหาตมะ คานธีที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองคนสำคัญที่นำจริยธรรมทางการเมืองไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลเป็นรูปธรรม หลักปฏิบัติของคานธีสะท้อนมุมมองจากประเด็นปัญหา 4 ข้อ ที่ทำให้เห็นรูปแบบการต่อสู้ วิธีการแก้ปัญหา จริยธรรมการปกครองและผลลัพธ์ ดังนี้ 1) ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ โดยใช้วิธีเดินขบวนเป็นวิธีการแก้ไข อันเป็นการแสดงความจริงใจ (สัจจะ) ในการต่อสู้ ผลลัพธ์ คือ การได้รับความเชื่อมั่น การไว้ใจ การได้รับเกียรติ ชื่อเสียงจากพลังมวลชน 2) ปัญหาความรุนแรง โดยใช้วิธีอหิงสาเป็นวิธีการแก้ไข อันเป็นการแสดงความข่มใจ (ทมะ) ยับยั้งความโกรธด้วยสติ ผลลัพธ์ คือ เป็นการบ่มเพาะปัญญาแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด 3) ปัญหาการทะเลาะกัน โดยใช้วิธีอดอาหารประท้วงเป็นหนทางแก้ไข เป็นการแสดงความอดทน (ขันติ) ผลลัพธ์ คือ การได้รับบริวารทรัพย์ในการร่วมอุดมการณ์ 4) ปัญหาแบ่งแยกประเทศ อันเป็นการจำยอมต่อรัฐบาลอังกฤษเพื่อได้รับเอกราช สุดท้ายการได้รับเอกราชก็เป็นเหมือนการอุทิศตนยอมแลกกับชีวิต (จาคะ) ผลลัพธ์ข้อนี้เป็นการชนะใจประชาคมโลกกระทั่งถึงปัจจุบัน จริยธรรมการเมืองทั้งสี่นี้เรียกว่า ฆราวาสธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่ทำให้ชีวิตคานธีไม่สูญเปล่า เพราะคุณูปการของเขายังปรากฏให้โลกได้เรียนรู้ปรัชญาการเมืองอย่างไม่มีสิ้นสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2525). ประวัติแนวคิดทางสังคม (History of Social Thought). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2560). ปรัชญาการเมือง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2563). ธัมมิกสังคมนิยมของพุทธทาสภิกขุ/กลุ่มพุทธทาสศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.buddhadasa.org/files/pdf/B_pdf/all/all12.pdf

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 20, 25. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาตมะ คานธี, เขียน. กรุณา กุศลาสัย, แปล. (2562). ข้าพเจ้าทดลองความจริง : อัตชีวประวัติของมหาตมะ คานธี. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สถานทูตอินเดีย.

เรือรบ เมืองมั่น. (2536). มหาตมะ คานธี กับการพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างฮินดูกับมุสลิม. กรุงเทพมหานคร : อาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต.

สุรัตน์ โหราชัยกุล. (2560). 15 สิงหาคม 1947 วันเอกราชอินเดียอันขื่นขม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9600000089131

Afzal, M. R. (2014). A History of the All-India Muslim League 1906-1947. Oxford : Oxford University Press.

Ahmed, A S. (1997). Jinnah, Pakistan, and Islamic Identity: The Search for Saladin. London : Routledge.

Durant, W. (2006). The Story of Philosophy. New York : Pocket Books.

Gandhi, M. K. (1968). Satyagraha in South Africa : The Selected Works of Mahatma Gandhi. Vol. II. Ahmedabad : Jitendra T. Desai Navajivan Publishing House.

Indian National Congress. (2018). The Khilafat Movement : A Landmark Movement in India’s Journey to Freedom. Retrieved 30 April 2020, from https://www.inc.in/en/in-focus/the-khilafat-movement-a-landmark-movement-in-indias-journey-to-freedom

Prasad, R. (1949). Satyagraha in Champaran. Ahmedabad : Navajivan P.