แนวทางการพัฒนาสมรรถนะโฮมสเตย์ของการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความพร้อมของโฮมสเตย์ในการพัฒนาและปรับปรุงของแต่ละชุมชนในเส้นทางการท่องเที่ยว 2) หาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะ โฮมสเตย์ของท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลำปาง และ 3) เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการโฮมสเตย์อันนำไปสู่การยกระดับการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโฮมสเตย์ในจังหวัดลำปาง จำนวน 5 อำเภอ ที่อยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย 1) อำเภอเกาะคา 2) อำเภองาว 3) อำเภอแจ้ห่ม 4) อำเภอเมืองปาน และ 5) อำเภอวังเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้เทคนิคการประชุมกลุ่มย่อย การเสวนา และการวิเคราะห์ประเด็นร่วมกันของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมของโฮมสเตย์ทั้ง 5 อำเภอ ในจังหวัดลำปาง มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งได้รับการสนับสนุนในระยะเริ่มต้นจากหน่วยงานภาครัฐภายใต้โครงการหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี แต่ในบางพื้นที่ยังขาดประสบการณ์ของการให้บริการและรองรับนักท่องเที่ยว ส่วนการบริหารจัดการที่รองรับการเข้าสู่มาตรฐานยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำไม่มีการบริหารจัดการรูปแบบกลุ่มในแต่ละอำเภอ สำหรับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะให้เข้าสู่มาตรฐานของโฮมสเตย์ไทยด้วยการร่วมกันรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์ของแต่ละพื้นที่ทั้ง 5 อำเภอ การต่อยอดการประกอบการและสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง และการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในรูปแบบของเครือข่ายชุมชนในจังหวัดลำปาง
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กนกรัตน์ ดวงพิกุล และ จารุนันท์ เมธะพันธุ์. (2561). โฮมสเตย์กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 9(1), 217-234.
กรมการท่องเที่ยว. (2561). โฮมสเตย์ในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562, จาก https://www.dot.go.th/pages/43
นพชัย ฟองอิสสระ. (2559). รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมของการท่องเที่ยววัฒนธรรมโฮมสเตย์กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า บ้านสองแควพัฒนาเทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 15-41.
บุญทัน ดอกไธสง และ ปิยะนันต์ จันทร์แขกหล้า. (2559). การกำหนดนโยบายธุรกิจโฮมสเตย์ของไทย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3(1), 77-94.
เปรมปรีดา ทองลา, นันทภัค บุรขจรกลุ, บุษรา บรรจงการ และภานิตา โพธิ์แก้ว. (2559). แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์สู่มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย กรณีศึกษาโฮมสเตย์จังหวัดจันทบุรี. ใน การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”, (หน้า 2452-2463).
ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง กําหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2554. (2554, 31 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 26 ง. หน้า 59-63.
พัฐรัศมิ์ ว่องไชยกุล. (2562). WEF ประกาศ “ประเทศที่มีศักยภาพแข่งขันด้านธุรกิจท่องเที่ยว” สูงที่สุดในโลก “ไทย” ครองอันดับ 31. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562, จาก https://forbesthailand.com/news/travel/wef-ประเทศ-ศักยภาพท่องเที่ยว.html.
สำนักงานจังหวัดลำปาง. (2560). ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562, จาก http://web.egtechma.ac.th/pdf/travel.pdf.
สุวิมล วงษ์พิทักษ์. (2548). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธุรกิจที่พักแบบโฮมสเตย์โดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปางมะโอตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Goeldner, C. R. , & Ritchies, B. J. (2006). Tourism: Principles, practices and philosophies. New Jersey: John Wiley and Sons.