The การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง

Main Article Content

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
ปาณิสรา เทพรักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมเชิงคุณภาพ และการมีส่วนร่วม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  กลุ่มตัวอย่างประกอบจำนวน 19 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาสุขภาวะของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง


          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุมุ่งเน้นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ 2 ด้าน คือ 1) การสังคมสงเคราะห์ การช่วยเหลือผู้สูงอายุให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างเหมาะสม  ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกาย มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง เป็นต้น 2) การพัฒนาสวัสดิการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงวัยให้มีสุขภาวะที่ดี และลดช่องว่างทางสังคม  โดยโรงเรียนผู้สูงอายุได้สร้างนวัตกรรมกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะทางกาย เช่น ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย 2) การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะทางจิตใจ เช่น การผ่อนคลายความเครียด ความเหงา เป็นต้น 3) การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะทางสังคม เช่น การมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำและร่วมพัฒนาสังคม 4) การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะอารมณ์/ปัญญา เช่น การสร้างจิตอาสาเพื่อประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสังคม  ขณะที่การส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาสุขภาวะของโรงเรียนผู้สูงอายุได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล องค์กรปกครองท้องถิ่น สาธารณสุขจังหวัด มหาวิทยาลัย และอาสาสมัครท้องถิ่น เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น


          การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีประสิทธิภาพมาก จำเป็นต้องขจัดปัญหาที่ส่งผลต่อผู้สูงอายุ เช่น การเดิน เนื้อหาไม่ควรยาวจนเกิดความเบื่อหน่าย ควรเป็นกิจกรรมผ่อนคลายหรือทัศนศึกษาพื้นที่อื่นๆ  ดังนั้น จำเป็นต้องช่วยเหลือและการส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีส่วนร่วมในสังคม และทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกไม่แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา  แม้สภาพจริงร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปแต่บทบาทและความสำคัญยังคงเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ.

เกษร สำเภาทอง. (ม.ป.พ.). ครอบครัวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราภรณ์ เกศพิชญ์วัฒนา และคณะ. (2553). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (มีนาคม-พฤษภาคม), 27.

ชนิดา สุ่มมาตย์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุโดยองค์กรชุมชนในภาคอีสาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศ์. 10 (1), 77-87.

วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2551). ทรรศนะเรื่องความสุขในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาบ้านวัยทองนิเวศน์. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 13 (1), 16-30.

ศศิธร ขันติธรางกูร, จงกล คำมี และกฤษณา บุตรปาละ. (2550). ศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตจังหวัดเลย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศรี และธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุ: ชุดความรู้ การพัฒนาเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. นนทบุรี: บริษัทมาตาการพิมพ์ จำกัด.

อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัยความท้าทายประเทศไทย. ราชบัณฑิตยสภา: สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง.