การท่องเที่ยวเชิงประเพณีงานบุญผะเหวดของบ้านไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานประเพณีบุญผะเหวดของบ้านไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะบุญผะเหวดที่ไฮหย่องนี้มีการละเล่นที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษคือการเซิ้งผีโขน ชาวบ้านไฮหย่องจะเซิ้งผีโขนเฉพาะในงานประเพณีบุญผะเหวดเท่านั้น ในการเซิ้งผีโขนจะใช้คำร้องเป็นภาษาถิ่นกล่าวถึงพระเวสสันดรชาดก นิทานพื้นบ้านและคติเตือนใจในภาคอีสาน การจัดขบวนแห่เชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง ขบวนแห่จัดอย่างสวยงาม สนุกสนาน เพลิดเพลิน พร้อมคติเตือนใจจากคำร้องเซิ้งของขบวนแห่จากผีโขน งานประเพณีบุญผะเหวดเป็นกิจกรรมสร้างความสามัคคี สร้างความสุข จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชนและครอบครัวอีกด้วย
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
เกษม ปฏิพันธ์. (2563). ข้าราชการบำนาญ (ครูบ้านไฮหย่อง). สัมภาษณ์. 3 มิถุนายน 2563.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามมลดา.
เฉลิม พงษ์อาจารย์. (2530). พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
ณรงค์ เส็งประชา. (2531). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ประภาพันธ์ สุวรรณชัยรบ. (2563). ปราชญ์ชุมชนบ้านไฮหย่อง. สัมภาษณ์. 2 มิถุนายน 2563.
ปริญญาณ ภิกขุ (นามแฝงของปรีชา พิณทอง). (2534). ประเพณีโบราณไทยอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ ศิริธรรมออฟเซ็ท.
พระครูสุโพธิชยาภิรักษ์. (2563). เจ้าคณะตำบลไฮหย่อง. สัมภาษณ์. 3 มิถุนายน 2563.
พิมุต รุจิรากูล. (2554). ประเพณีและพิธีกรรม 4 ภาคของไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดซีเอทบุ๊คส์.
มยุรี ไสยวรรณ และสันติ ฮังกาสี. (2563). หัวหน้าฝ่ายบริหารงานศึกษาเทศบาลตำบลไฮหย่อง และนักวิชาการศึกษาเทศบาลตำบลไฮหย่อง. สัมภาษณ์. 3 มิถุนายน 2563.
วิมล จิโรจพันธ์และคณะ. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). พัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สนธยา ทิพย์ทอง และถนัด เหลาพรม. (2563). นายกเทศมนตรีตำบลไฮหย่อง และหัวหน้าสำนักงานปลัดเทศบาลตำบลไฮหย่อง. สัมภาษณ์. 2 มิถุนายน 2563.
สมพิศ ศิลารัตน์ และสุภาภรณ์ ภิรมย์รื่น. (2525). ผ้าพระเวส. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.