ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562

Main Article Content

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
มัทนา บัวศรี
เปาซี วานอง
Panyasack Sengonkeo

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) ในปีการศึกษา 2562 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษารับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2562 โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยการจับสลากเลือกคณะจำนวน 9 คณะ คิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนคณะทั้งหมด จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ในระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 368 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.892 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลแบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในแต่ละรอบมีความแตกต่างกัน โดยลำดับอิทธิพลจากมากไปหาน้อย คือ 1) รอบที่ 4 การรับ Admission ได้แก่ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ และด้านอาจารย์ผู้สอน 2) รอบที่ 1 การคัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ได้แก่ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร และด้านการบริหารจัดการ 3) รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ ได้แก่  ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านการบริหารจัดการ และด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย 4) รอบที่ 2 การสมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียนสำหรับนักเรียนในพื้นที่ ได้แก่ ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน และด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย 5) รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา (ระบบโควตา). รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (5 ตุลาคม 2561). คู่มือระบบTCAS62 สำหรับนักเรียนและผู้สมัคร. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก https://entry. wu.ac.th/download/tcas62.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ฉบับปรับปรุง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2563). ประวัติความเป็นมามหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://th.kku.ac.th/about/history

สุริยันต์ บุญเลิศวรกุล และ นงลักษณ์ เกตุบุตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้ระบบทีแคส (TCAS). วารสารวิชาการ ปขมท, 8(3), 54 – 62.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (1 กรกฎาคม 2561). TCAS ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก http://library2paliament.go.th/ebook/content-issue/2561/hi2561-046.pdf.