แนวปฏิบัติและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุของเครือข่าย พระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง: พื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย

Main Article Content

อภิรมย์ สีดาคำ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของเครือข่ายพระนักพัฒนา 2) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านภาวะผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา      4) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในการดูแลผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 รูป/คน ในหมู่บ้านที่มีอาศรมพระธรรมจาริกและอาศรมพระบัณฑิตอาสา จำนวน 4 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่


              ผลการวิจัยพบว่า แนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ ใช้หลักสังคหวัตถุ 4  หลักพรหมวิหาร 4 หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตาม กลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้านยังขาดบุคลากรในการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ กิจกรรมสร้างอาชีพเสริมรายได้ แนวปฏิบัติหลักของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง ได้แก่ บทบาทหน้าที่ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน  ส่วนกระบวนการดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วยปัจจัย 7 ประการ คือ ปัจจัยด้านสถานที่ ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านกิจกรรม ปัจจัยด้านอารยสถาปัตย์ ปัจจัยด้านแผนพัฒนา และปัจจัยด้านนโยบาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสำรวจ.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. (2556). คู่มือการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการ “การจัดการความรู้อาคาร-สถานที่ที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17 (3), 25-36.

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย (ด้านประชากร). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2560, จาก htttp://fopdev.or.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เสาวภา พรสิริพงษ์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ และยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2557). วัดในพุทธศาสนากับความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33 (1), 97-125.

เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. (2557). ความพร้อมของวัดในพุทธศาสนาในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33 (1), 99 – 125.