องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์จังหวัดพิษณุโลกในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว และ 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์จังหวัดพิษณุโลก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา t-test One-Way ANOVA และความถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลกจากมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.30, S.D.=0.61) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นด้านประวัติศาสตร์สูงที่สุด (Mean=3.40, S.D.=0.68) รองลงมาคือ ด้านศาสนา (Mean=3.35, S.D.=0.69) ด้านธรรมชาติ (Mean=3.24, S.D.=0.73) และด้านวัฒนธรรม (Mean=3.23, S.D.=0.84) ตามลำดับ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลกในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวทั้ง 6 ตัวแปร คือ องค์ประกอบด้านแหล่งท่องเที่ยว องค์ประกอบด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก องค์ประกอบด้านความปลอดภัย องค์ประกอบด้านการเดินทางและค่าใช้จ่าย องค์ประกอบด้านวัฒนธรรม และองค์ประกอบด้านกิจกรรมที่น่าสนใจ มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์จังหวัดพิษณุโลกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านศาสนา ด้านธรรมชาติ และด้านวัฒนธรรม
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข และวศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2559). พลวัตของจุดหมายทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก ระหว่างปี พ.ศ. 2500-2550. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 16 (1), 1-23.
วันทนีย์ ศรีนวล และอัศวิน แสงพิกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9 (1), 175-194.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2561). องค์ประกอบการท่องเที่ยวและช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอนาคต กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11 (1), 79-98.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพิษณุโลก. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก https://phitsanulok.mots.go.th
สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (2562). ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.phitsanulok.go.th
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. UK: Butterworth Heinemann.
Tsiotsou, R. H. and Goldsmith, R. E. (2012). Strategic marketing in tourism services. Bingley, UK.:Emerald Group.