ศึกษาแนวคิดปรัชญาทางการเมืองของเพลโต

Main Article Content

ประภาส แก้วเกตุพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทางการเมืองของเพลโต จากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้เพลโตสนใจปรัชญาทางการเมือง เพราะเกิดจากสภาพความปั่นป่วนในนครเอเธนส์ ซึ่งเป็นเหตุให้โสคราตีสผู้เป็นอาจารย์ถูกประหาร เพราะวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมือง เมื่อนครเอเธนส์อยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตาแล้วเพลโตก็ออกท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมแล้วกลับมาสู่นครเอเธนส์เพื่อตั้งสำนักอคาเดมีเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ทางการศึกษาและการเมืองแก่สังคม ลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ดีจะต้องมีร่างกายแข็งแรงและจิตแจ่มใส ราชาปราชญ์ที่เป็นผู้ปกครองต้องมีความรู้ ลักษณะการเมืองที่ดีต้องให้การศึกษาแก่ประชาชน รูปแบบการปกครองที่ดีของเพลโตก็คือ อภิชนาธิปไตย อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อแนวความคิดทางการเมืองของเพลโตเชิงอภิปรัชญาอยู่ในโลกของแบบจุดเด่น การพัฒนาทางการเมืองนั้นต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบ และจุดอ่อนทางการเมืองอยู่ที่ประชาชนขาดการศึกษา ส่วนแนวความคิดทางสังคมการเมืองของเพลโตอยู่ที่การแบ่งงานกันทำ ปัญหาสังคมการเมืองมาจากความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเข้มแข็งทางการเมือง  อยู่ที่การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วม อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการสรรค์สร้างสังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิต การศึกษาที่เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมก็คือเลขคณิต เลขาคณิต และดาราศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชวลิต ศิริภิรมย์. (2515). ปรัชญาการเมืองและหลักจริยธรรมสมัยนครรัฐกรีก. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุมพล สังขปรีชา. (2528). ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองว่าด้วยธรรมชาติมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2532). ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยาม.

พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2529). ความคิดทางการเมืองเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พินิจ รัตนกุล. (2515). เพลโตและปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพลโต. (2523). โสคราตีส [Socrates] (สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี พ.ศ. 2523).

เพลโต. (2523). อุตมรัฐ [The Republic] (ปรีชา ช้างขวัญยืน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี พ.ศ. 2523).

ฟื้น ดอกบัว. (2532). ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรการพิมพ์.

สุขุม นวลสกุล และ บรรพต วีระสัน. (2520). ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง และพุทธศาสตร์กับความคิดเชิงการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Arehie J. Bahm. (1969). The Heart of Confucius. New York: John Weatherhill. Ine.

Plato. (1959). The Republic of Plato. Translated by H.D.P. Lee. Maryland: Penguin Book Ltd.