ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าทอจังหวัดลำพูน

Main Article Content

ณัฏฐวรวีร์ มานพพงษ์
สถาพร แสงสุโพธิ์
เฉลิมชัย ปัญญาดี
สมคิด แก้วทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) ศึกษาผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าทอจังหวัดลำพูน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าทอจังหวัดลำพูน เพื่อดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนในอนาคตที่มีความยั่งยืน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ วิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าทอจังหวัดลำพูน  โดยการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงาน โดยพิจารณาความสามารถในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 1) ภาพรวมการพึ่งพาตนเองด้านจิตใจ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.00, S.D. = 0.00) 2) ภาพรวมการพึ่งพาตนเองด้านสังคม มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 2.65, S.D. = 0.35) 3) ภาพรวมการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.20, S.D. = 0.25) 4) ภาพรวมการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยี มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 1.82, S.D. = 0.33) 5) ภาพรวมการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากร มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 1.75, S.D. = 0.30) ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ด้านภาวะผู้นำ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการบริหารสวัสดิการชุมชน มีความสัมพันธ์กับการพึ่งพาตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการพึ่งพาตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ร้อยละ 53.7 (R2 = .537)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2562, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Documents/STC/MannualRegistrationCE62.pdf

คัมภีรพรรณ ชูทอง และ กรวิทย์ เกาะกลาง. (2562). ถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านบางใหญ่ : จากกระบวนการการผลิตภัณฑ์น้ำเสาวรสปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 2(4), 25-35.

ชูใจ คูหารัตนไชย. (2558). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ดนัยเทพ ศรีธัญรัตน์. (2549). การวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลของนโยบายโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ตามแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ดุษฏี นาคเรือง และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดเนินงานของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดยะลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 69-77.

ทัศวรรณ ธิมาคำ. (2553). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเรื่องการทอผ้ายกลำพูน. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธงชัย ภูวนาถวิจิตร. (2558). แนวคิดสวัสดิการชุมชนบนฐานทรัพยากรชุมชน ทางเลือกเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารแม่ฟ้าหลวง, 4(2), 65-94.

บุญธรรม จิตต์อนันต์. (2540). ส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ปัทมา สมพงษ์. (2551). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษากลุ่มผลิตสินค้าผ้าไหม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารห้องสมุด, 52(1), 65-78.

ไพศาล มุ่งสมัคร และคณะ. (2556). รูปแบบการจัดการที่ประสบผลสำเร็จของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดชัยบุรินทร์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(3), 115-123.

ภรณี กีร์ติบุตร. (2529). การประเมินประสิทธิภาพองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วรรณา โชคบรรดาลสุข. (2558). การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกไท - ยวนในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 166-188.

ศศิภา พิทักษ์ศานต์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนไปปฏิบัติ กรณีศึกษาอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.

สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และคณะ. (2558). ธรรมภิบาลเพื่อการจัดการ และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 271-283.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562, จาก http://planning.dld.go.th/th/index.php/th/plan-menu/690-policy12

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานผลการพัฒนารายจังหวัด จังหวัดลำพูน. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563, จาก http://www.royalthai police.go.th.download/plan12.pdf

สำนักเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2563). วิสาหกิจชุมชนน่ารู้. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Ssceb2.htm

George, D., & Takezawa, S. (2003). SPSS for window step by step: A simple guide and reference. 4th ed 11.0 update. Boston Ma: Pearson Allyn & Bacon.

Nonthacord, P.N. (2011). Factors Affecting Business Success of Northern Farmer Housewife Group in the food processing industry. (Master’s thesis). Chiangmai University. Chiang Mai.

Sunthornpongpatra, J.P. (2015). Factors Affecting the Success of Savings Group for Manufacturing Case Study of Khon Kaen Savings Group Tambon Dong Khae, Amphoe Mueang, Prachin Buri. (Master’s thesis). Rajabhat Rajanagarindra University. Chachoengsao.

Taro Yamane. (1973). Elementary Survey Analysis. Prentice. Inc., Englewood Cliffs. New Jersey.