การศึกษาการรวมกลุ่มของชาวนาพัทลุงเพื่อพัฒนารูปแบบการปรับตัว ท่ามกลางสถานการณ์สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันรุกนา

Main Article Content

พรไทย ศิริสาธิตกิจ
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ
ฐากร สิทธิโชค

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการทำนา รูปแบบและเงื่อนไขของการผลิต การบริหารจัดการกลุ่ม การแปรรูป การอนุรักษ์พันธุกรรม ระบบตลาด การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างการเรียนรู้ รวมทั้งศึกษาการสร้างต้นแบบเชิงบูรณาการและวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ตลอดจนการสังเคราะห์การรวมกลุ่มของชาวนาพัทลุงและสร้างรูปแบบการปรับตัวของชาวนา ท่ามกลางสถานการณ์สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันรุกนา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยในลักษณะของพหุเทศะกรณี


              ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนชาวนาในพื้นที่จังหวัดพัทลุงเป็นภาคการผลิตที่สำคัญมายาวนาน  โดยพัฒนาการด้านการผลิตข้าวแบ่งเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 การทำนาบนฐานระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ (พ.ศ.2450-2509) และยุคที่ 2 การทำนาบนฐานระบบเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ (พ.ศ.2510-2559)  สืบเนื่องสถานการณ์การปรับตัวขึ้นลงของราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน รวมทั้งราคาข้าวเปลือก ได้ส่งผลกระทบต่อชาวนา และได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ “สวนรุกนา” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน แต่ก็ยังมีชาวนาส่วนหนึ่งในพื้นที่พัทลุงที่ยังคงทำนาต่อไปภายใต้เงื่อนไขที่ซับซ้อน โดยมีการรวมกลุ่มและปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันรุกนา ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างทุนในการปรับตัวกับกระบวนการปรับตัว และผลของการปรับตัว จึงทำให้ชาวนากลุ่มนี้ยังคงดำรงวิถีการทำนาอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์ “สวนรุกนา”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ตันไทย. (2552). หนึ่งศตวรรษเศรษฐกิจของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วีรศักดิ์ คงฤทธิ์ และสุวัจนี เพชรรัตน์. (2556) .พลวัตเศรษฐกิจข้าวในภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2543). พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากร กระบวนทัศน์และนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Chambers, R and Conway, G.R. (1992). Sustainable rural livelihoods: Practical concepts for the 21st century. IDS Discussion Paper No. 296. IDS, Brighton.

Department of Foreign International Development. (1999). Sustainable Livelihoods Guidance Sheets. London: Department of Foreign International Development (DFID).

Ellis, F. (2000). Mixing It: Rural Livelihoods and Diversity in Developing Countries. Oxford: Oxford University Press