กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ด้วยกระแสการท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้รับความนิยม นักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพด้านการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบการสนทนาเชิงลึกและการสนทนากลุ่มจากผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนได้ส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ผลการศึกษาพบว่า ตำบลนางพญาเป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพด้านการท่องเที่ยว สามารถแบ่งเป็น 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านวัฒนธรรมและประเพณี 3) ด้านวิถีชีวิต ภูมิปัญญา 4) ด้านอาหารพื้นบ้าน และ 5) ด้านยาและการรักษาโรค เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ จากความหลากหลายทางชีวภาพด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางพญา ทั้ง 5 ด้าน สามารถพัฒนาเพื่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนตำบลนางพญาได้ กิจกรรมการท่องเที่ยวบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อจัดการประสบการณ์กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลนางพญา สามารถพัฒนาได้ 13 กิจกรรม เช่น กิจกรรมการเดินป่า ยอดดอยภูพญาพ่อ สันแปเมือง (Hiking/Trekking) กิจกรรมพักผ่อนรับประทานอาหารพื้นบ้าน (Gastronomy) กิจกรรมล่องแก่ง บ้านท่าเรือ (White Water Rafting) เป็นต้น
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงพลังงาน สำนักนโยบายและพลังงาน. (2554). แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555- 2558. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2558, จาก https://energy.go.th/2015/wpcontent/uploads/2016/02/moen_plan_2555_2558_0.pdf
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2558, จาก http://www.tat.or.th
ศรีณัฐ ไทรชมพู และบุญเกียรติ ไทรชมภู. (2558) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. (2557). ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา: ความหลากหลายทางชีวภาพของผืนป่าหลังสัมปทานทำไม้. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา. (2560). แผนพัฒนา 3 ปี 2561-2564. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2561, จาก http://www.nangpaya.go.th/
ฮักนะนางพญา. (2560) จำนวนผู้ติดตามและเช็คอิน. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2561, จาก https://www.facebook.com/hugna.nangpaya
College of Social Communication Innovation. (2013). Guidelines for integrated marketing communication in promoting cultural tourism, Wangsombun District, Srakaew Province. Bangkok: College of Social Communication Innovation Srinakharinwirot University.
Darsree, P. (2014). A survey on the quality of ecological tourism sites in Pang Sida National Park, Srakaeo Province. Retrieved 10 February 2017, from www.gstm.nida.ac.th/jitt/images/57_2-2.pdf.
Phuriwat Dechum. (2013). Developing creative tourism: Conceptual framework to the practice for Thailand. Silpakorn University Journal, 33(2), 331-366.
Singsaktrakul, P. and Sermkarndee, P. (2013). The Study of Potentiality and Conservation Tourism Development Approach of Baan Thung– Maprang, Kuan Doan District and Baan Ton–Panan, Kuan Kalong District in Satun Province. Suddhiparitad Journal, 27(83), 97–112.
Tawornsil, T. (2009). Guidelines for developing tourism in Srakaew Province. Master’s Thesis, M.Sc. Chulalongkorn University.