รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานและรูปแบบการตลาด พืชผักปลอดภัยที่เหมาะสำหรับเกษตรกร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์
เก็จวลี ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานและรูปแบบการตลาดพืชผักปลอดภัยที่เหมาะสำหรับเกษตรกรอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจ


          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานพืชผักปลอดภัยดั้งเดิม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการส่วนต้นน้ำ ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ 2) การบริหารจัดการส่วนกลางน้ำ ขาดการตรวจคุณภาพ และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย    3) การบริหารจัดการส่วนปลายน้ำ ขาดระบบการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค รูปแบบการตลาดพืชผักปลอดภัยดั้งเดิม ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ น้ำหนักไม่ได้มาตรฐาน 2) ด้านราคา ขายปลีก กำละ 10 บาท 3) ด้านการจัดจำหน่าย ผ่านตลาดนัดหน้าอำเภอ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด มีการออกงานแสดงสินค้าและการประชาสัมพันธ์


          ความต้องการซื้อของลูกค้า ได้แก่ ลูกค้าผู้บริโภคในชุมชน และลูกค้าหน่วยงานในอำเภอแม่แจ่ม ส่วนใหญ่นิยมซื้อผักพื้นบ้านตามฤดูกาล และยินดีซื้อพืชผักของเกษตรกร


          การจัดการห่วงโซ่อุปทานพืชผักปลอดภัยที่เหมาะสำหรับเกษตรกร ควรพัฒนาทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการส่วนต้นน้ำ ควรจัดตั้งกลุ่มและวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ 2) การบริหารจัดการส่วนกลางน้ำ ควรตรวจสอบสารเคมีตกค้าง และคุณภาพมาตรฐานของผลผลิตก่อนจำหน่าย 3) การบริหารจัดการส่วนปลายน้ำ ควรกระจายผลผลิตตามความต้องการของลูกค้า รูปแบบการตลาด ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผลิตตามความต้องการของตลาด 2) ด้านราคา กำหนดราคาโดยเอิร์ท เซฟ 3) ด้านการจัดจำหน่าย ได้แก่     ช่องทางตรง และช่องทางอ้อม 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ควรใช้การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดุสิต นนทะนาคร. (2552). ถึงเราเก่ง แต่หากระบบโลจิสติกส์ล้มเหลวก็จอด. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562, จาก http://logisticscorner.com

ธนิต โสรัตน์. (2550). การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ : วี–เซิร์ฟ.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. (2563). การส่งออกสินค้าสำคัญของไทย. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก http://www.ops3.moc.go.th/export/recode_export_rank

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. (2560). แนวทางในการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักปลอดสารพิษของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5 (1), 155-162.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อายุส หยู่เย็น และคณะ. (2556). การวิเคราะห์ระบบตลาดผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบ ปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Kotler, Philip. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implement, and Control. 9th ed., Prentice-Hall, Inc.