ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการ การท่องเที่ยวตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปิยภาคย์ ภูมิภมร
ปรางฉาย ปรัตคจริยา
ธิชาทร ตันวัฒนเสรี
อคิราภ์ รัชตะประกร

บทคัดย่อ

              การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม  และศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวของตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม   ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวตลาดท่านาเป็นจำนวน 400 ชุด


               ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทด้านพื้นที่ ตลาดท่านาไม่ค่อยเป็นที่น่าดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับตลาดท่านาและสินค้าชื่อดังในตลาด   สภาพตลาดมีความเสื่อมโทรม และปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนคือ สภาพการจราจรติดขัด ในช่วงเวลาบ่ายถึงช่วงเย็น ที่จอดรถที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับของนักท่องเที่ยวและผู้ที่มาเดินตลาด ห้องสุขาไม่เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยว  2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการการท่องเที่ยวของตลาดท่านา พบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดการการท่องเที่ยวของตลาดท่านา อยู่ในระดับมาก 3  ด้าน ดังนี้ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{x} =3.51) ในประเด็นมีความเหมาะสมทุกฤดูกาลมีค่าความพึงพอใจสูงสุด (gif.latex?\bar{x}= 3.56) ด้านเศรษฐกิจและสังคม (gif.latex?\bar{x} = 3.53)   โดยประเด็นความพอใจในความสะอาดและปลอดภัยมีค่าความพึงพอใจสูงสุด (gif.latex?\bar{x}= 3.55) และ ด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (gif.latex?\bar{x} = 3.51) โดยในประเด็นการจัดการขยะมูลฝอยมีค่าความพึงพอใจสูงสุด (gif.latex?\bar{x}= 3.56)  สำหรับด้านความสมบูรณ์และชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านธรรมชาติ ด้านความเข้มแข็งของชุมชน  ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย และด้านการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวปี พ.ศ. 2560. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

กัลยากร แสวงผล. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำไทรน้อยโดยชุมชนมีส่วนร่วม.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นนทวรรณ ส่งเสริม. (2561). CREATIVE TOURISM การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิธาน จีนาภักดิ์. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครปฐม. (2562). จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมปี 2560. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562, จากhttp://nkpathom.nso.go.th/116-infographic/424

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). การวิเคราะห์งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมของประเทศไทยในรอบทศวรรษ. BU Academic Review. 12(1), 85-97.

Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.