การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง และ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านสังคมประกอบไปด้วย เพศ อายุ การศึกษาสถานภาพ และด้านเศรษฐกิจประกอบไปด้วย อาชีพ และรายได้ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลแบบ t-test และ F-test โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.96 ซึ่งสามารถเรียงอันดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านกิจกรรมการเลือกตั้งอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.67 ด้านการเสนอความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.17 ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.94 ด้านร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอยู่ในระดับน้อยค่าเฉลี่ย 1.81 ด้านการตัดสินใจทางการเมืองอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.62 และด้านกิจกรรมที่รุนแรงและอาจผิดกฎหมายอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.57 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจพบว่า เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .01
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14 (3), 109–125.
คเณศ กลิ่นสุคนธ์. (2543). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลที่เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาล พ.ศ. 2542 ในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จินตนา กะตากูล. (2562). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครปริทัศน์. 6 (6), 2860-2874.
ณรงค์ พึ่งพานิช ภิภพ วชังเงิน และอติพร เกิดเรื่อง. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดตาก. วารสารวิชาการสถาบันการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5 (1), 170–183.
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2562). แผนพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร (พ.ศ.2561 – 2565). ลำปาง: เทศบาลเมืองเขลางค์นคร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
บวรศักดิ์ อุวรรโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18 (3), 375–396.
ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3 (2), 183–196.
ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2554). ทัศนะทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน 44 ชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3 (1), 68–77.
วิชัย ตันศิริ. (2547). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต: แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาใน พ.ร.บ. การศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2551). ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สรุตา พลไธสงค์ และประกิต กันยาบาล. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่ประกอบอาชีพในภาคธรุกิจเอกชน: ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มลูกค้าและบุคลากรของบริษัท เอ็น .อาร์. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด สานักงานใหญ่ (กรงุเทพมหานคร). วารสารสหวิทยาการวิจัย:ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4 (3), 211–219.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2550). การเมืองของพลเมือง: สู่สหัสวรรษใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.