ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 40 คน ประกอบด้วยข้าราชการ 17 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรใกล้เคียง 15 คน นักการเมืองท้องถิ่น 5 คน และพนักงานบริษัทเอกชน 3 คน
ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการต้องการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มความรู้และพัฒนาศักยภาพให้มีความสามารถหลากหลาย นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน พัฒนาการทำงานหรือบริหารงานราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ นักศึกษาต้องการนำความรู้ไปสอบเป็นข้าราชการและเพิ่มโอกาสการมีงานทำ นักการเมืองท้องถิ่นต้องการศึกษาต่อเพื่อการยอมรับของคนในชุมชน นำความรู้ไปพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน พนักงานบริษัทเอกชน ต้องการศึกษาต่อเพื่อเปลี่ยนอาชีพและนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ต้องการศึกษาเนื้อหาด้านองค์การและการจัดการ นโยบายสาธารณะและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งมีความสนใจทำวิทยานิพนธ์ในประเด็นดังกล่าว และยังสนใจประเด็นวิจัยเกี่ยวกับการบริหารโครงการของรัฐ ความมั่นคงของมนุษย์และภัยคุกคาม การบริหารความขัดแย้ง การบริหารความเสี่ยงองค์กรของรัฐ สังคมผู้สูงวัย ชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับช่วงเวลาเรียนที่เหมาะสมคือ วันเสาร์และอาทิตย์ โดยใช้เงินทุนส่วนตัว และเห็นว่าหลักสูตรควรมีค่าเทอมไม่เกิน 30,000 บาท รวมทั้งต้องการให้มีทุนสนับสนุนการศึกษาและทุนวิจัยสำหรับนักศึกษา งานวิจัยนี้เสนอแนะว่ามหาวิทยาลัยควรมีส่วนลดค่าเทอมให้กับศิษย์เก่า ควรมีทุนการศึกษาจัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา และควรมีรายวิชาที่ทันสมัยมีเนื้อหาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (26 มิถุนายน 2558). มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขารัฐประศาสนศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://www.mua.go.th/users/tqfhed/news/data6/M_D_Public%20Administration_m1.pdf
ชลธิชา สุขเกษม. (2554). การตัดสินใจศึกษาต่อของนิสิตในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณฐปกรณ์ จันทะปิดตา. (2555). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: กรณีศึกษาบุคลากรการศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ. (2553). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
นวมินทร์ ประชานันท์. (2552). ทิศทางการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ประดิษฐ์พงศ์ โตธรรมเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐบาลและมหาลัยเอกชน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปวิชญา ชนะการณ์, ภีรกาญจน์ ไข่นุ่นนา และกุสุมา กูใหญ่ (2561). การสื่อสารเพื่อสันติภาพ: แนวคิดและข้อเสนอสำหรับการออกแบบหลักสูตร ในระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29 (2), 149-160.
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136. ตอนที่ 51 ก. หน้า 1
ศรุดา ชัยสุวรรณ และคณะ. (2561). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา. Journal of nakhonratchasima college. 12 (2), 11-25.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2557). การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2562). ประวัติความเป็นมาของคณะรัฐประศาสนศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2563, จาก http://gspa.nida.ac.th/th.
Mathie, A. & Camozzi, A. (15 January 2005). Qualitative research for tobacco control: A how-to introductory manual for researchers and development practitioners. Retrieved January 10, 2020, from https://idl-bnc-idrc.dspacedirect.org/bitstream/handle/10625/31535/IDL-35.pdf?sequence =11&isAllowed=y
Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods. Bevery Hills, CA: Sage.