ความเป็นพลวัตรัฐราชการภายใต้อำนาจยุคสมัย คสช.

Main Article Content

พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์)
พระครูวินัยธร วรชัด ทะสา
ชูเกียรติ ผลาผล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นพลวัตของรัฐราชการภายใต้อำนาจยุคสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยภายหลังรัฐประหาร พ.ศ.2557 ที่ผ่านมาอันมีลักษณะความเป็นพลวัตในระบบรัฐราชการไทย เพื่อการรักษาซึ่งอำนาจทางการเมืองทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจรัฐการปรับตัวสู่รัฐราชการใหม่ และเพื่อรักษาอำนาจการกำหนดนโยบายตัดสินใจสิ่งสำคัญของประเทศ และการขับเคลื่อนนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระบบราชการซึ่งเป็นลักษณะฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติหรือการจัดตั้งระบบกลไกการทำงานขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองปรับเปลี่ยนการปฏิรูปประเทศ และตามเป้าหมายระบบรัฐราชการยุคสมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองกลุ่มเครือข่ายในภาคส่วนต่างๆ อันมีลักษณะเป็นการเมืองแบบระบบรัฐราชการ และโดยอาศัยระบบราชการเป็นตัวนำการขับเคลื่อนที่สำคัญในกระบวนการด้านนโยบาย รวมทั้งการนำเสนอนโยบายและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภาคส่วนต่างๆ


ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ.2557 รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบการเมืองให้เป็นรัฐราชการเป็นตัวแสดงนำในกระบวนการด้านนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งใช้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือผนวกรัฐราชการให้อยู่ภายใต้อำนาจโครงสร้างระบบสถาบันทางการเมืองไทย และใช้อำนาจรัฐบาลฝ่ายทหารควบคุมระบบการเมืองไทยโดยเสริมสร้างระบบรัฐราชการเป็นฝ่ายสนับสนุนในช่วงเวลาดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกษียร เตชะพีระ. (2557). รัฐราชการไทยสายตาเฟรดริกส์. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563, จาก https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/59563/1/ 5780614524.pdf

_______. (2556, 19 กรกฎาคม). กับดักรัฐราชการ 1. มติชนสุดสัปดาห์, 33(1718), 9.

_______. (2556, 26 กรกฎาคม). กับดักรัฐราชการ 2. มติชนสุดสัปดาห์, 33(1719), 26.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2543). 2475 และ 1 ปี หลังการปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนบรรณ อู่ทองมาก. (2560). รัฐราชการไทยภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2560). รัฐราชการ. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2563, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_604174

ทิวากร แก้วมณี. (2557). วิวัฒนาการวงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทย: จาก 2475 ถึงการเมืองหลังระบอบทักษิณ. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2557). นักการเมืองข้าราชการ. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563, จาก https://thaienews.blogspot.com/2014 /08/blog-post_509.html

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2556). สองคลื่นแห่งการปฏิรูประบบราชการไทย: 15 ปีของความเปลี่ยนแปลงในเชิงสถาบันทางการเมือง-การบริหารไทย 2535-2549. รัฐศาสตร์สาร, 34(2), 157-249.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 1 ครั้งที่ 17 (สมัยสามัญทั่วไป). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ. (2558). รัฐราชการไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์: ปัญหาระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (2523-2531). วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45(2), 75-104.

Mead, K. (2004). The Rise and Decline of Thai Absolutism. 1sted. Abingdon: Routledge.

Riggs, F. W. (1966). Thailand: The Modernization of a Bureaucratic Polity. Honolulu: East-West Center.