บทบาทของสหภาพยุโรปต่อการจัดการประมงพาณิชย์ในประเทศไทย กรณีศึกษา การประกอบอาชีพประมงในจังหวัดระนอง

Main Article Content

ภาวิดา รังษี
เศกสรรค์ ยงวณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของสหภาพยุโรปต่อการจัดการประมงพาณิชย์ในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาการนำมาตรการด้านการจัดการประมงพาณิชย์ของสหภาพยุโรปไปปฏิบัติในจังหวัดระนอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า สหภาพยุโรปมีบทบาทต่อการจัดการประมงพาณิชย์ในประเทศไทยผ่านมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วยการจัดสถานะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงว่าจะไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขปัญหาสหภาพยุโรปจะไม่นำเข้าสินค้าประมงจากประเทศไทย ทำให้รัฐบาลไทยต้องเข้ามาปรับเปลี่ยนระบบการประมงในประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดที่สหภาพยุโรปกำหนด และรัฐบาลได้นำมาตรการด้านการประมงพาณิชย์ของสหภาพยุโรปไปปฏิบัติในจังหวัดระนอง โดยปรับใช้ในรูปแบบของนโยบายและกฎหมายด้านการประมง ส่งผลต่อผู้ที่ประกอบอาชีพประมงในจังหวัดระนองดังนี้ 1) ผู้ที่ทำการประมงผิดกฎหมายได้เลิกประกอบอาชีพ 2) ผู้ประกอบการมีต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น 3) ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้านการประมงที่รัฐกำหนดขึ้นใหม่ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และ 4) ผู้ประกอบการต้องการจัดการประมงร่วมกับภาครัฐเพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาที่สอดคล้องกับสภาพการทำประมงจริงและเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ประกอบการ              

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2558). สินค้าส่งออกสำคัญของไทยตามโครงสร้างสินค้าส่งออกโลก. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563, จาก http://trade report.moc.go.th/ TradeThai.aspx

ชุมสิน ชมชูชื่น. (2561). นโยบายการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมง ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 1(1), 27-48.

นภ การะบุตร. (2562). หัวหน้าศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงระนอง. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2562.

บรินดา สัณหฉวี. (2560). แนวทางการแก้ไขปัญหาประมงไทยโดยใช้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมาตรฐานสากล. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 6(4), 14-25.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซล. (2559). ความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรป. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก https://www. thaiembassy.be/bilateral-relations/th-eu/

สำนักงานประมงจังหวัดระนอง. (2562). สถิติจำนวนเรือที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงในรอบปีการประมง 2561-2562. เอกสารตีพิมพ์.

อริยพร โพธิใส. (2560). มาตรการและแนวทางป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของประเทศไทยกับหลักการสำคัญของ IUU Fishing. วารสารจุลนิติ, 14(4), 149-161.

อาจารี ถาวรมาศ. (2558, 18 พฤษภาคม). การประมงผิดกฎหมาย: ผลกระทบและทางออกสำหรับไทย?. กรุงเทพธุรกิจ, น. 12.

Food and Agriculture Organization of the United Nations [FAO]. (2016). The State of World Fisheries and Aquaculture. Rome: Publishing Policy and Support Branch