การรู้เท่าทันสื่อ: พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาสาขาการจัดการรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อกับพฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาสาขาการจัดการรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสาขาการจัดการรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มีทักษะการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับมากและได้รับผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อได้แก่ การใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ การเข้าใจสื่อ การประเมินค่าสื่อ และการวิเคราะห์สื่อตามลำดับมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารทางบวกในระดับมาก 2) พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อด้านการประเมินค่าของสื่อมีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านการใช้ชีวิตและด้านสุขภาพทางบวกในระดับมากที่สุด
ผลการศึกษา ทำให้ทราบแนวทางในการป้องกันผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาโดยการส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นการบริโภคสื่ออย่างรู้เท่าทันที่สอดแทรกในหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นศักยภาพด้านความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีเหตุผลมีความรู้เกี่ยวกับสื่อและวิธีการบริโภคสื่อสารสนเทศรวมทั้งการผลิตสารสนเทศด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
โครงการวัยมันส์เท่าทันสื่อ กลุ่มละครมะขามป้อม. (2552). คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ และคณะ. (2559). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
โตมร อภิวันทนากร. (2552). คู่มือจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ.กรุงเทพฯ: ปิ่นโต พับลิชชิ่ง.
บุหงา ชัยสุวรรณ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี. กรุงเทพฯ: สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ปณิชา นิติพรมงคล. (2554). เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม. วารสารนักบริการ, 30(4), 150-156.
พัชรภรณ์ ไกรชุมพล. (2555). ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่าน. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการสร้างชื่อเสียงกรณีศึกษายูทูบ (YouTube) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์สุรีย์ พงษ์เสือ. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (รายงานการวิจัย). สุโขทัย: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2558). รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ.
อาชิรญาน์ สุทัศน์ และธีรพล เป็กเยียน. (2558). การใช้สังคมออนไลน์ที่มีผลต่อนักศึกษา ปริญญาตรี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 9-13.
อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(80), 147-162.
Melvin L. DeFleur.(2010). Mass communication theories: Explaining origins, processes, and effects: Boston by Allyn & Bacon.
Livingstone, Bober& Helper. (2005). Internet Literacy among Children and Young People:
Potter, W. James. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach. California USA :Sage Publications.
Sedentary Behaviour Research Network. (2012). Standardized use of the terms “sedentary” and “sedentary behaviours. Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism, 37, 540-542.
Soos, I., Biddle, S., Boros-Balint, I., Sandor, I., Szabo, P., Hamar, P., &Simonek, J. (2012). Prevalence of sedentary behaviour in young people in Romania and Slovakia. European Physical Education Review, 18(1), 19-46.
We Are Social &Hootsuite. (2563). สถิติของประเทศไทย รายงาน Digital Thailand ประจำปี 2020.เข้าถึงได้จาก: https://blog.ourgreenfish.com//สถิติดิจิทัล-ของประเทศไทยจาก-digital-thailand-ประจำปี-2020, 30 กันยายน 2563.