การมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าผู้สูงอายุผ่านการจัดการความรู้ภูมิปัญญาเชิงเศรษฐกิจของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ธนกร สิริสุคันธา

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ภูมิปัญญา เชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการสร้างคุณค่าผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมและเพื่อหาแนวทางการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาเชิงเศรษฐกิจของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 8 คน และสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ข้อมูลที่ได้นำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาสาระและหาความถี่ประกอบการบรรยาย


              ผลการวิจัย พบว่าในพื้นที่มีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาเชิงเศรษฐกิจอยู่ 3 ด้าน คือ    1) ด้านเกษตรกรรม 2) ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม และ 3) ด้านแพทย์แผนไทย ในส่วนของการส่งเสริมการสร้างคุณค่าผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมในตัดสินใจจะมีการเสนอหรือคัดเลือกโครงการที่ชุมชนจะดำเนินการ การกำหนดการใช้ทรัพยากรแหล่งต่างๆการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน จะร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ร่วมออกแรงหรือลงมือทำ การสนับสนุนทรัพย์สินเงินทองหรือวัสดุ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ผู้สูงอายุจะมีความยินดีหรือภาคภูมิใจในผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล มักอยู่ในรูปของการสังเกตการณ์                 


              ด้านแนวทางการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาเชิงเศรษฐกิจ จะใช้ความรู้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในผู้สูงอายุนำมาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมด้วยการปลูกพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้านและผักปลอดสารพิษ 2) ภูมิปัญญาด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรมด้วยการสานก่องข้าวและเครื่องจักสานอื่น ๆ และ 3) ภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยด้วยการทำน้ำมันสมุนไพร โดยมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้าแล้วลงมือปฏิบัติทันทีจากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ยอมรับความคิดสร้างสรรค์ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งให้ความเชื่อมั่น ในความสามารถและเคารพความรู้ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร สังขชาติ และสมโภชน์ อเนกสุข. (2548). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(1), 95-108.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวง พ.ศ. 2560-2564. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กฤตศิลป์ อินทชัย. (2551). บทบาทผู้สูงอายุตำบลฟ้าฮ่ามต่อการพัฒนาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และวรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-88.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545- 2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2523). การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาการบริหารงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ฉวีวรรณ ปานชี. (2550). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพการทำขนมโบราณชุมชนกุฎีจีน แขวงวัดกัลป์ยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นพพรรณพร อุทโธ. (2552). บทบาทของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชน การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประเวศ วะสี. (2530). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. ชุมชนพัฒนา, 1(5), 75-78.

ปิยรัตน์ กาญจนะจิตรา, 2550. การจัดการความรู้ในระบบราชการไทย : กรณีศึกษา กรมส่งเสริมการเกษตร กรมอนามัยและกรมสุขภาพจิต. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

ศิริพงษ์ เกี้ยวสกุล. (2555). การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนในการนำพลังผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สามารถ จันทร์สูรย์. (2536). ภูมิปัญญากับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. (2550). ตัวแบบการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2545). บทบาทของสถานศึกษากับภูมิปัญญาไทย. วารสารห้องสมุด, 44(3),14.

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ป.

สุรเชษฐ์ จิตตะวิกูล. (2542). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.

เสรี พงศ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.