ผลการปรับรูปแบบการบำบัดยาเสพติดแบบจิตสังคมบำบัดต่อการปฏิบัติตามแผนการบำบัด ของผู้รับการบำบัดยาเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน

Main Article Content

วิภากรณ์ ปัญญาดี

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้เป็นการวิจัยย้อนหลัง (Retrospective study) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการปรับรูปแบบการบำบัดยาเสพติดแบบจิตสังคม (Matrix program) ต่อการปฏิบัติตามแบบการบำบัดรักษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีนของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเข้ารับการบำบัดรักษาในปี พ.ศ. 2561 และรับการบำบัดแบบจิตสังคมแบบเดิม และกลุ่มที่ 2 เป็นผู้เข้ารับการรักษาในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งได้รับการบำบัดรักษาด้วยจิตสังคมบำบัด ที่มีการปรับรูปแบบโดยเพิ่มกิจกรรม One Day Camp, Family Camp และกิจกรรมจิตอาสา เข้าไปในโปรแกรมเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบเก็บบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยแหล่งข้อมูลสำคัญมาจากแบบรายงานการบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด (บสต.3) และรายงานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัวโดยวิธีจิตสังคมบำบัด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติทดสอบ Chi-square


              ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.36) เป็นเพศชาย มีอายุโดยเฉลี่ย 26.32 ปี (gif.latex?\bar{x}=26.32, SD = 11.19) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64.77) สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา มีเพียงส่วนน้อย (ร้อยละ 1.14) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และส่วนใหญ่มีรายได้โดยเฉลี่ย 8,400 บาทต่อเดือน (gif.latex?\bar{x}=8,399, SD = 538.66)  ในด้านสารเสพติดที่ใช้ครั้งแรกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.8) เป็นยาบ้า โดยเสพครั้งแรกกับเพื่อนด้วยสาเหตุหลักคืออยากลอง ผลของวิเคราะห์ผลการปรับรูปแบบการนำจิตสังคมบำบัดต่อการปฏิบัติตามแผนการบำบัดรักษามีการปฏิบัติตามแผนการรักษา พบว่า ผู้เข้าร่วมจิตสังคมบำบัดแบบปรับแต่งมีการปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) ทั้งในมิติของการมารับการบำบัดรักษาตามนัด ผลการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดตกค้างที่ได้ผลลบ และระยะเวลาการคงอยู่ในระบบการรักษาจนถึงวันครบบำบัด ดังนั้น การปรับรูปแบบจิตสังคมบำบัดโดยการเพิ่มกิจกรรมเสริมเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้ป่วยอื่นที่เข้าร่วมโครงการ การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัว ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามแผนการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี สุเวทเวทิน สัมมนา มูลสาร และธีราพร สุภาพันธุ์. (2561). สภาพการณ์การบำบัดผู้เสพ เมทแอมเฟตามีนด้วยระบบสมัครใจบำบัดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(6), 580-588.

จิรฉัตร ถิ่นไพโรจน์ และนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล. (2561). ผลของการเข้ารับการบำบัดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทยทหารบก, 71(1), 3-10.

ฉวีวรรณ ปัญจบุศย์ และ สุกุมา แสงเดือนฉาย. (2556). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อป้องกันการติดซ้ำของผู้ป่วยติดเมทแอมเฟตามีน. วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 24-38.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา: คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงศพัทธ์ บุญมาก. (2561). ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด ค่ายขวัญแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 14(2), 13-24.

อัมพร สีลากุล วิมาลา เจริญชัย วิไลรัตน์ สะสมผลสวัสดิ์ ฉวีรักษ์ ลีลา กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง และดารารัตน์ อุ่นศรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแอมเฟตามีน ด้วยคุณธรรม “รักเหนือรัก” (สาราณียธรรม 6) ระดับศีล 5. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 27(3), 30-43.

อารี สุภาวงศ์. (2559). ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดแบบประยุกต์ โรงพยาบาลทุ่งสง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36 (ฉบับพิเศษ), 160-170.

Ann, J. (1984). An Exploration of Selected Factors for Prediction Adolescent Self-Esteem and Locus of Control. Dissertation Abstracts International, 44: 2069-2070.

Baron, R.A. and D. Byrne. (1991). Social Psychology: Understanding Human Interaction. 6th ed. Boston: Allyn & Bacon.

Branden, N. (1981). The Psychology of Self-Esteem. 15th ed. New York: Bantam Book's Inc..

Brookover, W.B. and others. (1965). Improving Academic Achievement through Students' Self-Concept Enhancement II. Michigan: Office of Education, Michigan State University.

Norman, I., & Ryrie, I. (2009). The art and science of mental health nursing: a textbook of principles and practice. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

Shives, L. R., & Isaacs, A. (2005). Basic concepts of psychiatric-mental health nursing. 5th ed. Philadelphia: Lippincott.

Wilson, H. S., & Kneisl, C. R. (1992). Psychiatric nursing. 4th ed. Redwood City, California: Addison Wesley Nursing.