นวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐชานันท์ วงศ์มูลิทธิกร

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของโครงการที่เป็นนวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเลือกศึกษาโครงการที่เป็นนวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่  ที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2561ดังนี้ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา 2) องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 3) เทศบาลตำบลยางเนิ้ง และ 4) เทศบาลเมืองแม่เหียะ ข้อมูลในการศึกษาวิจัยมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรส่วนท้องถิ่นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการนวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่น  รวมไปถึงข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง


            ผลการวิจัยพบว่า มีโครงการนวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ ทั้งนี้ สามารถสังเคราะห์ถึงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการริเริ่มนวัตกรรมออกเป็นได้ 3 บทบาท คือ 1) บทบาทผู้ประสานงาน  2) บทบาทผู้กระตุ้น สนับสนุน และจูงใจ  และ 3) บทบาทผู้ดำเนินการหลัก นอกจากนี้ ยังพบว่านวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่นดังกล่าวมีลักษณะ ดังนี้ 1) นวัตกรรมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ 2) นวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ 3) นวัตกรรมด้านรูปแบบการให้บริการ การส่งมอบงาน4) นวัตกรรมด้านกระบวนการและการบริหารองค์การ และ 5) นวัตกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงกระบวนการ


            ข้อเสนอแนะ คือ นวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่นซึ่งถือเป็นรูปแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นเชิงรุก ถูกริเริ่ม ดำเนินการ ต่อยอด อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น  ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งพยายามพัฒนาขีดความสามารถในการริเริ่มนวัตกรรมเช่นนี้ได้เหมือนกันทั้งหมด ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นและประเทศชาติเพิ่มขึ้นอย่างเท่าทวีคูณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). ประชาคมท้องถิ่น: การส่งเสริมและเผยแพร่นวัตกรรมท้องถิ่น. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. 50 (5), 27.

จรัส สุวรรณมาลา. (2548). โครงการวิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2548). นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วุฒิสาร ตันไชย. (2552). ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม:กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2555). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุจิตร ชิณสาร. (2557). นวัตกรรมการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณทิต(รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา

องค์การอนามัยโลก. (2562). ความหมายของทักษะชีวิต. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561,จาก https://uparadigm.blogspot.com/2017/02/life-skills-meaning.html