พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในการมาท่องเที่ยว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เดินทางท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง และ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในการเดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่แจกแบบสอบถามด้วยตนเองและใช้แบบสอบถามออนไลน์กับนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เคยมาท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ t-test One-Way ANOVA และ Factor Analysis
ผลการวิจัยพบว่า พบว่า นักท่องเที่ยวชาวยุโรปส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ด โดยเดินทางมากับครอบครัว/ญาติ/คู่รัก ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวเกาะเสม็ด 1-3 วัน เคยเดินทางมาเกาะเสม็ด 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวันในการมาเที่ยว 7,501-10,000 บาท ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวในการเดินทาง ต้องการจะกลับมาท่องเที่ยวเกาะเสม็ดอีกครั้ง โดยได้รับทราบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเกาะเสม็ดจากอินเทอร์เน็ต และกิจกรรมการท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ด ที่อยากทำมากที่สุดคือ นั่งเรือชมรอบเกาะ โดยปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ส่วนแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในการเดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเสม็ด พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) โดยมีประเด็นความหลากหลายของกิจกรรมท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.38) และพบว่า นักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และภูมิลำเนา แตกต่างกัน และมีแรงจูงใจการมาท่องเที่ยวเกาะเสม็ดไม่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะของบุคคล ส่วนพฤติกรรมเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว และผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนำเที่ยวและสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยองในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวในเกาะเสม็ด
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก https://www.mots.go.th/more_news
ดวงกมล บุญทวีทรัพย์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.
ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ และ สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. (2560). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาหาร กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชันลาดกระบัง สมุทรสาคร บางพลี และบางปู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(3), 717-718.
สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.
สำนักงานจังหวัดระยอง. (2562). ข้อมูลท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก http://123.242.173.8/v2/index.php?option=com
อรพินทร์ ชูชม. (2552). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย.
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อัศวิน แสงพิกุล. (2552). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนานาชาติที่เดินทางมาประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อุมาพร บุญเพชรแก้ว, อิสระพงษ์ พลธานี, กมลวรรณ อยู่คำ, ปลิดา รู้วัชรปกรณ์, ปิยะวรรณ มาก่อเกียรติ, ยุธิกา ด่านภู่วงศ์ และ อฑิติยา ตรึกดี. (2561). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนเกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 11(3), 2686-2703.
Crompton, J.L., (1979). Motivations for pleasure vacation. Annuals of Tourism Research, 6(4), 408-424.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. (Vol. 2). New York: Harpers and Row.