ขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว และศึกษาขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ ตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านจำนวนทั้งสิ้น 73 ครัวเรือน และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแม่กลางหลวงในระดับน้อย การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการในกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแม่กลางหลวงในระดับปานกลาง มีส่วนร่วมในผลประโยชน์จากกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแม่กลางหลวงในระดับมาก ตลอดจนครัวเรือนที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลในกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแม่กลางหลวงมีในระดับปานกลาง ด้านขีดความสามารถในการรองรับสูงสุดของบ้านแม่กลางหลวง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้โดยไม่ทำให้คนในชุมชนบ้านแม่กลางหลวงเกิดความแออัดจำนวน 60 คนต่อช่วงเวลา
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
เกวลิน หนูสุทธิ์. (2559). การจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนในหมู่บ้านแม่กลางหลวง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
ฐิติ ฐิติจำเริญพร. (2557). การศึกษาขีดความสามารถในการรับรอง (carrying capacity)การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
มยุรี นาสา. (2553). ขีดความสามารถด้านจิตวิทยาในการรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวบริเวณชายหาดของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2539). โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย.
วราภรณ์ ดวงแสง. (2553). ผลกระทบของการท่องเที่ยวและการปรับตัวของครัวเรือนในพื้นที่ท่องเที่ยวหนาแน่น:กรณีศึกษาอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2541). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สิริวัฒนา ใจมา และคณะ. (2546). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานวิจัย). ลำปาง. ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชลำปาง.
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2556). ขีดความสามารถในการรองรับการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในด้านคุณภาพน้ำตกของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(6), 139-151.