การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และสืบสาน กิจกรรมพื้นบ้าน ผ่านวิถีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์
บุญฑวรรณ วิงวอน
หัสยาพร อินทยศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ จำแนกภูมิปัญญาพื้นบ้าน และเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และสืบสานรูปแบบกิจกรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นผ่านวิถีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ และคนในชุมชน จำนวน 35 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ข้อมูลที่นำมาศึกษาครั้งนี้ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)


ผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชนตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นสิ่งที่ชาวบ้านในชุมชนคิดแล้วนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างขวัญ และกำลังใจในการดำเนินชีวิต จนสะสมเป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้านในชุมชน จำแนกเป็นภูมิปัญญาด้านศิลปะ ภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรม ภูมิปัญญาด้านสมุนไพร ภูมิปัญญาด้านการแพทย์พื้นบ้าน ภูมิปัญญาด้านอาหาร ภูมิปัญญาด้านนาฏศิลป์ ดนตรี การแสดงพื้นบ้าน และภูมิปัญญาด้านพิธีกรรม ส่วนรูปแบบกิจกรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นผ่านวิถีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ประกอบด้วย กิจกรรมพื้นบ้านที่มี พื้นฐานมาจากวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อตามปฏิทินประเพณี 12 เดือนและกิจกรรมพื้นบ้านที่มีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 131-147.

คัชพล จั่นเพชร, และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 31-148.

เปรมฤดี ทองลา, และ เพชรศรี นนท์ศิริ. (2559). คุณลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนบ้านวัดจันทร์ อําเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิเชษ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล, และ ธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

องค์การบริหารส่วนตำบลนาแส่ง. (2561). จำนวนประชากร. สืบค้นจากhttp://www.nasaeng.go.th/mainfile.htm

Crane, P., & O’Regan, M. (2010). On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Australia: Commonwealth of Australia.

Jelincic, D.A. (2009). Splintering of Tourism Market: New Appearing Forms of Cultural Tourism as a Consequence of Changes in Everyday Lives. Collegium Antropologicum, 33(1), 259-266.

McNulty, R. (2009). Creative Tourism. Retrieved from http://www.cturbonew.com/4539creative-tourism conference-defines-news.