ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารงานภาครัฐกับประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Main Article Content

ศราวุธ โทปุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและปัญหาและเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 186 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารและปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 20 คนโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t –test , One – way ANOVAและ Correlation และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านการบริหารมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4)ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานควรเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานและดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานของตนเพราะผลงานจะออกมาด้วยดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก เพ่งจินดา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดตราด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 12(2), 51-61.

คณาธิป จันทร์สง่า. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

จนิสา ช่วยสมบูรณ์. (2556). แนวทางการพัฒนาบุคลากร : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

สถาบันพระปกเกล้า. (2560). การปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.kpi.ac.th/%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2560.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-121.

Dybvig, P. H., & Warachka, M. (2015). Tobin's q Does Not Measure Firm Performance: Theory, Empirics, and Alternatives. California: Chapman University.

Gargan, J. J. (2019). Handbook of local government administration. UK: Routledge.

Grant, B., Dollery, B., & Kortt, M. (2016). Recasting leadership reform in Australian local government: A typology from political theory. Local Government Studies, 42(6), 1024-1046.

Joy, L. (2016). Aid and macroeconomic performance: Theory, empirical evidence and four country cases. Berlin: Springer.

Mouloua, M. (Ed.). (2018). Automation and human performance: Theory and applications. UK: Routledge.

Shepherd, S. (2016). The Cambridge introduction to performance theory. Cambridge: University Press.